ความพร้อมในการเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • อนุพงค์ บัวเงิน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความพร้อมในการเปิดหลักสูตร, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน ในการเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 3 คน เกี่ยวกับความพร้อมในการเปิดหลักสูตรฯ วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลการศึกษาด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการวิเคราะห์สรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพร้อมด้านระบบโครงสร้างองค์การ วิทยาเขตฯ มีความพร้อมในการเป็นหน่วยจัดการศึกษา และมีความเป็นพหุวิทยาการสามารถจัดการศึกษาได้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ 2) ความพร้อมด้านนโยบาย พบว่า มหาวิทยาลัยฯ มีนโยบายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน อันเป็นปัจจัยสนับสนุนในการเปิดหลักสูตรฯ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพสามารถทำงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตนเอง 3) ความพร้อมด้านบุคลากร พบว่า วิทยาเขตฯ มีความพร้อมในส่วนของบุคลากรสายสนับสนุน แต่ยังขาดความพร้อมของบุคลากรสายวิชาการ ซึ่งต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด 4) ความพร้อมด้านทรัพยากรอื่นๆ พบว่าวิทยาเขตฯ มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก แต่งบประมาณในการบริหารจัดการบางส่วนจะขึ้นอยู่กับจำนวนนักศึกษา และ 5) ความพร้อมของชุมชน พบว่าพื้นที่ชุมชนหลายแห่งสามารถเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา นอกจากนี้ ประชาชนให้ความสนใจและพร้อมสนับสนุนให้บุตรหลานเข้าศึกษาต่อหากมีการเปิดหลักสูตรฯ และส่วนราชการในพื้นที่ก็สนใจทำข้อตกลงให้บุคลากรเข้าศึกษาต่อเช่นกัน

References

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมา. https://www.msc.cmru.ac.th/ประวัติความเป็นมา/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13077&filename=Social_HAI

สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2565). รายงานผลการดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี พ.ศ. 2565. https://www.maehongson.go.th/new/wp-content/uploads/wpforo/default_attachments/1682795150-o13-----2565.pdf

ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2551). แนวความคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. ธนุชพริ้นติ้ง.

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. (2561). รัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 7(2), 197-203.

ทรงพล โชติกเวชกุล และคณะ. (2563). รัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน. Journal of Modern Learning Development, 5(1), 262-271.

นุชนารถ นาคำ. (2547). ความคิดเห็นที่มีต่อความพร้อมในการบริหารจัดการการศึกษาขั้นปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตำบล: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตกิ่งอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กฎกระทรวง มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. (2566, 31 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนที่ 20 ก. หน้า 4-9.

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2565). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570). http://www.plan.cmru.ac.th/documents/univ/PLAN_2565-2570.pdf

อุษามา แสงเสริม และคณะ. (2563). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล. The Liberal Arts Journal Faculty of Liberal Arts, Mahidol University, 3(2), 45-57.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์, ประยุทธ เทียมสุข และ เมทิกา พ่วงแสง. (2563). ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 3(3), 107-129.

ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง และ ครรชิต เชื้อขำ. (2563). ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(1), 111-125.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28