แนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อประชารัฐเพื่อผู้สูงวัย กรณีศึกษาธนาคารออมสิน

ผู้แต่ง

  • ธนพล นาคเดช บัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ปราณี เอี่ยมละออภักดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กลุ่มวิชาการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

ธนาคารออมสิน, ผู้สูงวัย, สินเชื่อประชารัฐเพื่อผู้สูงวัย

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อประชารัฐเพื่อผู้สูงวัย กรณีศึกษาธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการให้บริการสินเชื่อประชารัฐ  เพื่อผู้สูงวัย 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการเพิ่มยอดใช้บริการสินเชื่อประชารัฐเพื่อผู้สูงวัยให้เป็นไปตามเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่าง 200 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 คน วิเคราะห์ด้วยการแจกแจงค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่า t-test และ One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุที่ทำให้การให้บริการสินเชื่อไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจาก ลูกค้ามีความกังวล เรื่องหลักประกันการโฆษณาสร้างการรับรู้และให้ข้อมูลสินเชื่อยังไม่ทั่วถึง และค่าประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อค่อนข้างสูง 2) แนวทางการแก้ไขปัญหา แนวทางที่ 1 การจัดทำสื่อโฆษณาและออกพื้นที่เชิงรุก 18 ภาค 18 ตลาด ประชาสัมพันธ์สินเชื่อประชารัฐเพื่อผู้สูงวัย ส่งเสริมและเน้นย้ำภาพลักษณ์ในการดูแลพ่อค้า แม่ค้า และผู้ประกอบการรายย่อย
และแนวทางที่ 2 การปรับปรุงหลักเกณฑ์สินเชื่อให้สามารถใช้หลักประกันได้หลากหลาย ลดอัตราค่าเบี้ยประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ การลดเอกสารประกอบการขอกู้ เป็นต้น

References

Kotler, Philip., & Armstrong, Gary. (2018). Principles of Marketing (17th ed.). England: Pearson.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมสาร.

จิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2561). เรียนรู้เข้าใจวัยสูงอายุ. เข้าถึงได้จาก: https://resourcecenter-uat.thaihealth.or.th.

ภัทรธิดา บุญรินทร์. (2564). กลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Covid – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สิทธิพล เพ็งแจ่ม. (2562). แนวทางเพิ่มยอดสินเชื่อรายย่อยธนาคารออมสินเขตราชวัตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

จรัสพร รุมชเนาว์. (2561). การศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการเพื่อการแก้ปัญหายอดสินเชื่อที่มีหลักประกัน กรณีศึกษา ธนาคารออมสินเขตราชวัตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

กฤตยา อภิเดช. (2564). การศึกษาแนวทางเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อัลชลี อัครชาญชยา. (2562). แนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน สาขาท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่. เข้าถึงได้จาก: https://rsujournals.rsu.ac.th.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สรุปผลที่สำคัญ การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2565. เข้าถึงได้จาก: https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13

นันทิกานต์ ธิหลวง. (2564). พฤติกรรม ความต้องการ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้าในการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน สาขาบ้านดุง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). วางกลยุทธ์ธุรกิจให้ถูกจุดกับ TOWS Matrix. เข้าถึงได้จาก: https://www.popticles.com/business/tows-matrix/

ประชาสรรณ์ แสนภักดี. (2566). ผังก้างปลา. เข้าถึงได้จาก: http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/fishbonemm.htm

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). การวิเคราะห์ SWOT ให้ชัดเจนสำหรับการวางแผนธุรกิจ. เข้าถึงได้จาก: https://www.popticles.com/business/swot-analysis/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27