รูปแบบการบริหารจัดการตามแนวคิดเมืองยุติธรรม (The Just City) สำหรับการแก้ไขปัญหาปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พัชราพรรณ ชอบธรรม หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สิมินตราพร สุรินทร์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, แนวคิดเมืองยุติธรรม, ปัญหาปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกคือ วิเคราะห์สถานการณ์และสาเหตุปัญหาของปริมาณฝุ่น PM 2.5 และประการที่สอง การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการตามแนวคิดเมืองยุติธรรม (The Just City) สำหรับการแก้ไขปัญหาปริมาณของฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย เพื่อเกิดข้อเสนอแนะรูปแบบในการบริหารจัดการตามแนวคิดเมืองยุติธรรม บทความนี้ใช้วิธีการศึกษาโดยการทบทวนวรรณกรรมจากข่าวสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีสาเหตุจากการเผาในที่โล่ง การปล่อยไอเสีย การจราจร อุตสาหกรรม และหมอกควันข้ามแดน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน สำหรับการบริหารจัดการตามแนวคิดเมืองยุติธรรม ประกอบด้วยหลักความเสมอภาค (equity) ซึ่งในทางปฏิบัตินโยบายของรัฐยังไม่เกิดความเสมอภาคต่อกลุ่มเปราะบางทางสังคม หลักความหลากหลาย (diversity) นโยบายห้ามเผา (zero burn) ของรัฐยังขาดความเข้าใจถึงความแตกต่าง หลากหลายของกลุ่มคนในสังคม และหลักความเป็นประชาธิปไตย (democracy) ก็ยังไม่สอดคล้องกับหลักการ ขาดการกระจายอำนาจ และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น รัฐบาลจะต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดของกลุ่มเปราะบางทางสังคม ส่งเสริมให้ชุมชนพื้นเมืองมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางพัฒนาพื้นที่อย่างเสมอภาคกับชุมชนอื่น รัฐบาลจะต้องสร้างมาตรการจูงใจให้กับเกษตรกรโดยหาวิธีการใหม่แทนการเผา การยอมรับความแตกต่างหลากหลายในการจัดการผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น การกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในการดูแลระบบนิเวศในฐานะผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย และภาคประชาชนทั่วไปจะต้องมีส่วนร่วมในการลดมลพิษทางอากาศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่เมืองที่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีและเป็นธรรมกับทุกภาคส่วนในสังคม

References

รัฐธรรมนูญแห่งราชอ่าณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 1-90.

United Nations Thailand. (2021). The Global Goals for Sustainable Development. https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2566). สธ. เผย 15 จังหวัดค่าฝุ่น PM 2.5 สูงติดต่อกัน 3 วัน ตั้งแต่ต้นปีพบผู้ป่วยแล้ว 1.32 ล้านคน คาดสัปดาห์นี้ กทม.-ปริมณฑลแนวโน้มดีขึ้น. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/65877

กรมควบคุมมลพิษ. (2566). ยกระดับในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละออง ในช่วงสถานการณ์วิกฤต. https://www.pcd.go.th/pcd_news/29162

กลุ่มเฝ้าระวังฝุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). เรียนรู้อยู่กับฝุ่น PM 2.5. https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/Chula-PM25.pdf

Woods, K. (2015). CP maize contract farming in Shan State, Myanmar: A regional case of a place-based corporate agro-feed system. BRICS Initiative for Critical Agrarian Studies.

Roberts, S., Arseneault, L., Barratt, B., Beevers, S.,Danese, A., Odgers, C., Fisher, H. (2019). Explorationof NO2 and PM2.5 air pollution and mental health problems using high-resolution data in London-based children from a UK longitudinal cohort study. Psychiatry Research, 272, 8-17.

SDG MOVE. (2020). การแก้ไขปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืน: เมื่อการสร้างความตระหนักไม่เพียงพอ. https://www.sdgmove.com/2019/10/11/bangkok-pm-2-5/

Fainstein, S. S. (2010). Redevelopment Planning and Distributive Justice in the American Metropolis. Available at SSRN 1657723.

สำนักสนับสนุนประชากรกลุ่มเฉพาะ. (2565). กลุ่มชาติพันธุ์กับป่า รักษาวิถีชีวิตคู่กันได้อย่างไรในภาวะ PM 2.5. https://section09.thaihealth.or.th/2022/08/12/กลุ่มชาติพันธุ์กับป่า-ร/

สถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา. (2566). “การพัฒนาทางเลือก” ข้อเสนอแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เริ่มด้วยการมอง “คน” เป็นศูนย์กลาง. https://www.tijthailand.org/th/article/detail/transboundary-haze-pollution-and-alternative-development

ศิขรินทร์ ศรีสุข. (2563). มาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละออง PM 2.5 จากภาคธุรกิจ กรณีศึกษา การเผาในพื้นที่เกษตรภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย. (2019). วิกฤตฝุ่นในมุมเศรษฐศาสตร์ : สิทธิในอากาศสะอาดควรเป็นของประชาชน. https://www.the101.world/right-to-breathe-clean-air/

Burayid, M. (2000). Urban Planning in a Multicultural Society. An Imprint of Greenwood Publishing Group Inc.

มาลี สิทธิเกรียงไกรและคณะ. (2021). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการไฟ (ป่า) ความมั่นคงทางอาหาร และสุขภาวะสังคม. (Proceeding). ใน รายงานการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 7. (2-3 September 2021). 491-495.

Thai PBS. (2566). กรมควบคุมมลพิษ รับมาตรการจัดการไฟป่าไม่สอดรับวิถีไร่หมุนเวียน. https://theactive.net/news/pollution-20230201/

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2552). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (พิมพ์ครั้งที่ 4). สถาบันพระปกเกล้า.

TDRI. (2023). ข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5. https://tdri.or.th/2023/03/pm2-5-thailands-solutions/

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). แนวทางการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นรูปธรรมในสายตาประชาชน. https://www.ph.mahidol.ac.th/news/10012022/

The ASEAN Secretariat Jakarta. (2022). Executive Summary of the Final Review of the Roadmap on ASEAN Cooperation towards Transboundary Haze Pollution Control with Means of Implementation. ASEAN Secretariat.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28