กระบวนการพัฒนาตัวแบบแผนที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กัลยรักษ์ ลิ่มโอภาสมณี หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แผนที่ทางวัฒนธรรม, ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว, ห่วงโซ่คุณค่า

บทคัดย่อ

บทความนี้ตั้งต้นด้วยคำถามว่า ตัวแบบแผนที่ทางวัฒนธรรมในยุคดิจิทัลที่ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานีควรเป็นอย่างไร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการท่องเที่ยวและพัฒนาตัวแบบการเกาะเกี่ยวที่เกิดขึ้นภายในแผนที่ทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี และ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาตัวแบบแผนที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี

จากการศึกษาพบว่า ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานีมีความเชื่อมโยงกัน ด้วยสถานที่ และกิจกรรมการท่องเที่ยว เน้นการท่องเที่ยวชุมชนที่มีความโดดเด่นในมิติของความเชื่อและความศรัทธา นอกจากนี้มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะสินค้าจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ตลอดจนการให้บริการและกิจกรรมการท่องเที่ยวหลายรูปแบบ ซึ่งผลิตภัณฑ์และการบริการจะช่วยเพิ่มมูลค่าตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานีมีข้อจำกัด สถานที่แต่ละแห่งอยู่ไกลจากกัน ไม่มีบริการรถขนส่งสาธารณะ ดังนั้น ตัวแบบแผนที่ทางวัฒนธรรมในยุคดิจิทัลที่ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี ควรระบุความสัมพันธ์เครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวและชุมชนโดยนำเสนอเรื่องราว และคุณค่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงการท่องเที่ยวชุมชน รวมถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาอำนวยความสะดวก การจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ กำหนดให้มีการค้นหาอัตลักษณ์ และเส้นทางตามความต้องการของนักท่องเที่ยว จะก่อให้เกิดการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นจากกระจุกเป็นกระจาย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยว เดือนธันวาคม 2563. https://www.mots.go.th/download/article/article

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2565 (Tourism Statistics 2022). https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุดรธานี. (2566). จำนวนผู้เยี่ยมเยือนจังหวัดอุดรธานี. สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุดรธานี.

พฤฒิยาพร มณีรัตน์, และ เกิดศิริ เจริญวิศาล. (2565). โมเดลห่วงโซ่คุณค่าในการสร้างมูลค่าวัตถุดิบท้องถิ่น สู่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดภูเก็ต. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 813-825.

วรดาภา พันธุ์เพ็ง. (2565). กระบวนการท้องถิ่นภิวัฒน์และคุณค่าทุนทางสังคมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยว. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 458-470.

Zhang, X. & Song, H. (2008). Tourism Supply Chain Management: A New Research Agenda. Tourism Management, 30(3), 345-358.

จิรวัฒน์ จูเจริญ และชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2564). แนวทางการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(3), 183-202.

Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. The Free Press.

Filda, R., Othman N. A., Yunita, I., Bakri, M. H. & Grace, A. (2020). The Analysis of Tourism Value Chain Activities on Competitive Creation: Tourists Perspective. Talent Development & Excellence, 12(1), 4613-4628.

อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ, วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, เอกรัฐ บุญเชียง, สุวิภา จำปาวัลย์, ฐาปนีย์ เครือระยา, สุภาพรรณ ไกรฤกษ์ และคณะ. (2561). การจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). วัฒนธรรม คุณค่าสู่มูลค่า. https://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=3972

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี. (2566). ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุดรธานี. (2566). สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP). สำนักงานจังหวัดอุดรธานี.

ศูนย์อำนวยการคำชะโนด. (2566). สถิตินักท่องเที่ยว. ศูนย์อำนวยการคำชะโนด.

Tapper, R. & Font, X. (2004). Tourism Supply Chains Report of a Desk Research Project for The Travel Foundation. https://www.researchgate.net/publication/360783781

สไบทิพย์ มงคลนิมิตร์, จิรัชญา โชติโสภานนท์ และ พณกฤษ อุดมกิตติ. (2563). การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นกรณีศึกษา เส้นทางพื้นที่ต้นแบบจังหวัดสุโขทัย. วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 16(1), 57-80.

กษิรา ภิวงศ์กูร. (2566). การพัฒนาแผนที่ทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านสร้างสรรค์เมืองเก่าเชียงราย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 8(1), 183-198.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28