Development of English Media Model for Monks and Novices

Main Article Content

Phramaha Santhat Phongsawat, Dr.
Asst. Prof. Dr. Boonmee Pansa
Asst. Prof. Chuenaarom Chantimachaiamorn
Dr. Weerapong Paengkamhag
Phramaha Viradej Japah, Dr.
Phramaha Rungphet Sriutumporn, Dr.
Phramaha Saranwat Kittiwachiro, Dr.
PhraVachiravich Thitavangso Dr.
Phramaha Surasak Kuemram
Pimasasimas Attahakul

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร” เกิดจากปัจจุบันสื่อการเรียนรู้ มีบทบาทสำคัญต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ดังนั้นการพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร การเรียนรู้ภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 4 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ซึ่งในแต่ละทักษะมีความแตกต่างกันออกไปและทุกทักษะจะครอบคลุมทุกด้านของการสื่อสาร ดังนั้นการสื่อสารภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความรู้ทั้งปวง ทำให้ได้รับรู้ข่าวสาร ช่วยเสริมสร้างความคิดและประสบการณ์และช่วยให้เกิดความเพลิดพลินต่าง ๆ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยเป็นกระบวนการศึกษาวิจัยที่มุ่งการพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร โดยตัวแทนพระสงฆ์ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญ จังหวัดเชียงใหม่ รวมประชากรกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 320 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า


1) ศึกษารูปแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร จากความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรต่อกระบวนการพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า ความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.29 ซึ่งตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก, การพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร มีดังนี้ (1) เพิ่มจำนวนหนังสือภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวต้องให้มีเพียงพอต่อจำนวนนักเรียนและให้มีความหลากหลายที่เขียนโดยอาจารย์ชาวไทยและชาวต่างประเทศ (2) หาเว็บไซต์เกี่ยวกับการสนทนาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเชิงวัฒนธรรมหรือการท่องเที่ยวมาแนะนำให้นักเรียน (3) ฝึกนักเรียนด้วยการสนทนาเป็นภาษาอังกฤษและใช้ภาษาในชีวิตประจำวันโดยใช้วัดของตนเป็นสื่อในการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ภายในวัด (4) ฝึกให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ได้ผลมาก (5) ใช้สื่อ Multimedia และ Visual Media ให้มากที่สุดในการเรียนการสอน (6) ทำ E-Book สำหรับการสอนภาษาอังกฤษและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (7) ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (8) จัดตั้งชมรมภาษาอังกฤษขึ้นในสถานศึกษา (9) เน้นกิจกรรมเกี่ยวการฝึกสนทนาภาษาอังกฤษให้มาก


2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร การอบรมตามคู่มือรูปแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร ผลสำรวจการเปรียบเทียบการทดสอบก่อนการใช้สื่อการเรียนการสอนและหลังการสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า พระภิกษุสามเณร ในโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษามีผลการทดสอบหลังเข้าร่วมกิจกรรมการถวายการอบรม ในครั้งที่ 1 (ประเมินหลังการฝึกอบรม) ( = 16.44 S.D. = 1.37 ) และครั้งที่ 2 (ประเมินห่างจากครั้งแรก 1 สัปดาห์) ( = 18.34 S.D. = 1.02 ) สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมถวายการอบรม ( = 8.38 S.D. = 1.38 ) ดังนั้น พระภิกษุสามเณรในโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษามีผลการทดสอบก่อนการใช้สื่อการเรียนการสอนและหลังการสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05


3) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร จากผลสำรวจความพึงพอใจในการใช้สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุสามเณร พบว่า ความพึงพอใจของพระภิกษุสามเณรโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.44 ซึ่งตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
Phongsawat, Dr., P. S., Pansa, A. P. D. B., Chantimachaiamorn, A. P. C., Paengkamhag, D. W., Japah, Dr., P. V., Sriutumporn, Dr., P. R., Kittiwachiro, Dr., P. S., Thitavangso Dr., P., Kuemram, P. S., & Attahakul, P. (2024). Development of English Media Model for Monks and Novices. Journal of Asian Language Teaching and Learning (Online), 5(1), 33–43. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jote/article/view/1276
บท
บทความวิจัย

References

Ampha Boonchuay. (2540). Educational Management in Schools. Bangkok: Odian Store.

Anusak Somitsan. (2540). Academic Administration. Bangkok: Department of Educational Service, Faculty of Education, Srinakharinwirot University.

Duangdeun Saengchai. (2533). Teaching English at the Primary Education Level. Bangkok: Odian Store.

Weerayut Pongsiri. (2560). Dissemination of Buddhism among Foreigners by Monks in Mueang District, Chiang Mai Province. Journal of Buddhist Studies Chulalongkorn University, 8(2), pp. 34-43.

Surasak Silawan. (2550). Tourism and the Dissemination of Buddhism: The Role of Temples in Bangkok Metropolitan Area: A Case Study of Wat Bowonniwet Vihara and Wat Benjamabophit Dusitwanaram(Master’s Thesis in Buddhist Studies). Mahidol University.

Sant Leksukhum. (2538). Northern Art: Horipun Chai-Lanna. Bangkok: Muang Boran.

Sujinna Panitchakul. (2549). Role of Monks in Tourism: A Case Study of Interaction Activities between Monks and Tourists(Master’s Thesis in Master of Business Administration in Tourism Management). Graduate School, Chiang Mai University.