คติการสร้างพระพุทธรูปไม้โบราณในวัดบ้านเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
พระพุทธรูปไม้แกะสลักโบราณ, พุทธศิลป์, วัดบ้านเมืองจันทร์, คติการสร้างพระพุทธรูปไม้โบราณบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาประวัติความเป็นมา คติการสร้าง และลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปไม้แกะสลักโบราณที่มีความสำคัญต่อสังคมวัฒนธรรมในวัดบ้านเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จากการศึกษาพบว่า ในบริเวณวัดบ้านเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ มีการพบพระพุทธรูปไม้แกะสลักโบราณที่มีความสำคัญจำนวน 14 องค์ แต่นำมาศึกษาเพียง 4 องค์ที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และมีความแตกต่างกันทางพุทธลักษณะชัดเจนในเชิงการเปรียบเทียบ ซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณด้านซ้ายมือของฐานพระประธานภายในพระอุโบสถ และเป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักแบบพื้นบ้านในศิลปะล้านช้างทั้งหมด กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 โดยไม่มีการแกะสลักแบบสกุลช่างหลวงหรือทรงเครื่องอย่างพระมหาจักรพรรดิเข้ามาปะปน ทั้งนี้กลุ่มพระพุทธรูปข้างต้นได้ถูกนำมาเชื่อมโยงเกี่ยวกับคติความเชื่อเรื่องผลแห่งกุศลกรรม ความศรัทธาในศาสนาที่ผู้คนได้นำสิ่งรอบตัวมาสร้าง คติการค้ำชูศาสนา สืบชะตา รวมถึงความเชื่อในเรื่องอานิสงส์ต่างๆ ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ซึ่งการศึกษาครั้งนี้อาจเป็นแนวทางให้คนในชุมชนได้เล็งเห็นคุณค่าในงานพุทธศิลป์ ซึ่งก่อให้เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และหวงแหนในมรดกงานศิลปกรรมของท้องถิ่น
References
เอกสารอ้างอิง
กิติสันต์ ศรีรักษา และ นิยม วงศ์พงษ์คำ. (2557). อัตลักษณ์ทางสุนทรียภาพของงานพุทธปฏิมาลุ่มน้ำชี. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 1 (1), 1-22.
กรมศิลปากร. (2548). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, กรม ศิลปากร.
กระทรวงมหาดไทย. (2529). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.
คณะกรรมการประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
ชอบ ดีสวนโคก. (2545). พระไม้ : ลายมือของบรรพชนไทอีสาน. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซท.
ดนัย ไชยโยธา. (2547). กระบวนการเกิดนานาศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2547). ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : มติชน.
ติ๊ก แสนบุญ. (บ.ก.). (2543). “วิกฤติ” ศิลปะพื้นบ้านอีสาน : อดีต ปัจจุบัน อนาคต. อุบลราชธานี: งาน ส่งเสริมการวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม, คณะศิลปะประยุกต์และการ ออกแบบ, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ติ๊ก แสนบุญ. (2553). ลักษณะอีสาน : ว่าด้วยเรื่องศิลปะและวัฒนธรรม. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี.
ติ๊ก แสนบุญ. (2554). เอกลักษณ์หัตถกรรมอีสานในงานไม้ที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. (รายงานผลการวิจัย). อุบลราชธานี: คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ธงชัย เมืองจันทร์. (2549). คติธรรมไทยกูยจากประเพณีการไหว้พระธาตุเมืองจันทร์ (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธันยพงศ์ สารรัตน์. (2564ก). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาวัดบ้านเมืองจันทร์ อ.เมือง จันทร์. จ.ศรีสะเกษ. ใน สุนทรี อาสะไวย์ (บ.ก.), รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ระดับชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนาสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 17 ธันวาคม 2564 (น 116–130). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธันยพงศ์ สารรัตน์. (2565ข). บทบาทของผู้หญิงและผู้ชายในตำนานการสร้างพระธาตุเมืองจันทร์และ ปราสาทบ้านปราสาท. ใน เอมอร แสนภูวา (บ.ก.), การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4 คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ วันที่ 20 สิงหาคม 2564 (น 13- 24). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
นิคม จารุมณี และ ประทีป ชุมพล. (บ.ก.). (2521). ประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคอีสาน. มหาสารคาม : วิทยาลัยครูมหาสารคาม.
นิยม วงษ์พงศ์คำ และคณะ. (2545). พระไม้อีสาน. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.
นิยม วงษ์พงศ์คำ. (2556). พระไม้ : มิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นแขวงจำปาสัก สปป.ลาว กับ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน ติ๊ก แสนบุญ (บ.ก.), เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ : รูป ลวดลายในศิลปะอีสานกับความเป็นเครือญาติทางสังคมในวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง. (น. 1- 21). อุบลราชธานี: คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
นิยม วงศ์พงษ์คำ และคณะ. (2557). การเปรียบเทียบศิลปกรรมของจำปาศักดิ์ สปป.ลาว กับ จังหวัด อุบลราชธานี : มิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารงานวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัย ราช ภัฏศรีสะเกษ, 1(1), 13-44.
บุษบา กิติจันทโรภาส. (2539). คติความเชื่อเรื่องพระพุทธรูปไม้ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2557). ศิลปะลาว. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
พระครูโสภณวีรานุวัตร (นิคม เกตุคง). (2559). พุทธศิลป์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดป่าเล ไลยก์วรวิหารจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 1(2), 91-108.
พระมหาเดช มีภาพ. (2556). พิธีกรรมและความเชื่อของชาวกูย ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะ เกษ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระมหาปพน กตสาโร. (2560). พระพุทธรูปไม้ : คุณค่าและคติธรรมที่มีต่อวิถีชีวิตคนอีสาน. วารสาร ธรรมทรรศน์, 17(2), 51-62.
ภราดร ศรปัญญา และคณะ. (2559ก). ปราสาทสระกำแพงใหญ่. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
ภราดร ศรปัญญา และคณะ. (2559ก). ปราสาทบ้านโนนธาตุ. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
วิโรฒ ศรีสุโร. (2543). บันทึกอีสานผ่านเลนส์ : สามทศวรรษของการเดินทางบนที่ราบสูง. ขอนแก่น: คลัง นานาวิทยา.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, คณะโบราณคดี, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิรพงศ์ ศักดิ์สิทธิ์. (2554). คติการสร้างพระพุทธรูปไม้ในล้านนา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สงวน รอดบุญ. (2526). พุทธศิลปลาว. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยธนบุรี.
สันติ เล็กสุขุม. (2547). ศิลปะรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2547). ประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียง. กรุงเทพมหานคร: มติชน. แหล่งศิลปกรรมในจังหวัดศรีสะเกษ. (2547).ศรีสะเกษ: หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ ศิลปกรรม จังหวัดศรีสะเกษ.
อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2521). ภูมิศาสตร์อีสาน. มหาสารคาม: คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ มหาสารคาม.
การสัมภาษณ์
กุหลาบ เมืองจันทร์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). อภิสิทธิ์ ศรีวะรมย์ (ผู้สัมภาษณ์). (2 กุมภาพันธ์ 2565).
ดิเรก เมืองจันทร์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ (ผู้สัมภาษณ์). (20 มีนาคม 2565).
ทองดี เมืองจันทร์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ (ผู้สัมภาษณ์). (20 มีนาคม 2565).
พระครูสุกิจสารวิมล (ผู้ให้สัมภาษณ์). แนวรบ ยวงปรางค์ (ผู้สัมภาษณ์). (16 มีนาคม 2565).
พระครูสุพจน์ธรรมคุณ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ธันยพงศ์ สารรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์). (20 มีนาคม 2565).
พระครูสุพจน์ธรรมคุณ (ผู้ให้สัมภาษณ์). วุฒิชัย นาคเขียว (ผู้สัมภาษณ์). (20 มีนาคม 2565).
มงคล ศรีจันทร์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ธันยพงศ์ สารรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์). (20 มีนาคม 2565).
รัตนา ธูปหอม (ผู้ให้สัมภาษณ์). ธันยพงศ์ สารรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์). (20 มีนาคม 2565).

Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร ทวารวดีปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.