ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาสุญญตาของนาคารชุนและเถรวาท
คำสำคัญ:
ปรัชญาสุญญตาของนาคารชุน, ปรัชญาสุญญตาของเถรวาทบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาสุญญตาของนาคารชุน 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาสุญญตาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาสุญญตานาคารชุนกับปรัชญาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์พุทธปรัชญาสุญญตาของนาคารชุนและพุทธปรัชญาเถรวาท โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาด้วยวิธีการค้นหาข้อมูลทางเอกสาร เช่น พระไตรปิฎก เอกสารวิชาการต่าง ๆ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดปรัชญามหายานของนาคารชุน และสุญญตาในหลักธรรมทางพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ อริยสัจ 4 มรรคมีองค์ 10 ปฎิจจสมุปบาท มาลุงกยบุตร และทิฐิ 62 โดยเนื้อหาการงานวิจัยในครั้งนี้ มีรายละเอียดเกี่ยวกับ แนวคิดปรัชญามหายานของนาคารชุน สุญญตาในปฏิจจสมุปาท และวิภาษวิธีของนาคารชุน รวมถึงนิพพานในพุทธศาสนาเถรวาทเป็นเพียงสังสารวัฏในทัศนะของนาคารชุน บทความวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สุญญตาตามทัศนะของนาคารชุน คือความว่างของสรรพสิ่งทั้งที่เป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ว่างเปล่า และเป็นความว่างเปล่าตามหลักปฏิจจสมุปบาท 2) สุญญตาตามทัศนะของเถรวาท คือสภาวะที่ว่างจากความเป็นตัวตนหรืออัตตา ได้แก่เบญจขันธ์ ธาตุ อายตนะ ซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีสาระที่พึงยึดถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล สภาวะที่ว่างหรือปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง คือราคะ โทสะ โมหะ 3) ลักษณะของสุญญตานาคารชุนและเถรวาท มีลักษณะที่เหมือนกันที่ว่า สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่ว่าง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อาศัยกันเกิดขึ้นนั้นล้วนเป็นของว่างหรือเป็นสุญญตา
องค์ความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ 1) ได้ทราบและเข้าใจนิพพานในปรัชญามหายานของท่านนาคารชุนและปรัชญาเถรวาท 2) ได้ทราบและเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจ 4 มรรคมีองค์ 10 ปฏิจจสมุปบาท มาลุงกยบุตร นิพพาน และทิฐิ 62 และ 3) ได้ทราบและเข้าใจสังสารวัฏของปรัชญามหายานของท่านนาคารชุนกับปรัชญาเถรวาท
References
Wikipedia, the free encyclopedia. (2023). Nagarjuna, Wikimedia Foundation,(online), source:
https://th.wikipedia.org/wiki/nagarjuna/history.
Rojanayano, S. (1997). A study of the role of Phra Maha Moggallana in the propagation of
Buddhism,Master of Buddhist Thesis, Graduate School: Mahachulalongkornrajavid yalaya University.
Chan-ngam, S. (1983). The Buddha's Teaching Method, Bangkok: Kamon Printing.
Sarakham, Ch. (1991). History of Buddhism in India, Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya
Printing House.
Saenthong, W. (2002). Analytical study of Sunyata in the Mahayana scriptures : Study only in
the Vajrapriya Paramita Sutta, Master of Buddhist Thesis, Graduate School :
Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Abstract.
Nilnama, S. (2001). Comparative study of the concept of Sunyata of Nagarjuna and Anatta of
Jean-Paul Sartre, Bangkok : Mahachulalongkornraj Printing House College, Abstract.
Buddhadasa Bhikkhu, (1999). Principles that express emptiness. Bangkok : Dhamma Sabha.
Buddhadasa Bhikkhu, (2006). How to practice for living with emptiness, Bangkok : Pailin
Publishing House.
Isarangkun Na Ayutthaya, Ch. (1974). Analytical Study of Self and Anatta in Theravada Buddhist
Philosophy. Master of Arts Thesis, Graduate School: Chulalongkorn University, Abstract.
Promtha, S. (1991). Atthita and Natthita in Theravada Buddhist Philosophy, Doctor of Arts
Thesis, Graduate School: Chulalongkorn University, Abstract.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร ทวารวดีปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.