กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการนักเรียนนักศึกษาในภาวะวิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2563
DOI:
https://doi.org/10.60101/jimc2023.841คำสำคัญ:
กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์, สื่อสังคมออนไลน์, ขบวนการนักเรียนนักศึกษา, วิกฤตการเมืองไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสาร รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการนักเรียนนักศึกษาในภาวะวิกฤตการเมืองไทยพ.ศ. 2563 โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพจากการเก็บข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ 2 ช่องทาง คือ เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลคนสาคัญจานวน 3 คน ผู้ที่เป็นตัวแทนของขบวนการนักเรียนนักศึกษา 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนเลวและกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ผลการวิจัย พบว่า 1. การนาเสนอเนื้อหาสารในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ (1) ใช้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารจากตัวบุคคลที่เป็นแกนนาของกลุ่ม (2) นาเสนอสารอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา สอดคล้องกับเวลาและบริบทที่เป็นกระแสหรือสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้น โดยมีกลวิธีการใช้ภาษาแบบเสียดสี (3) นาเสนอเนื้อหาและลงท้ายด้วยแฮชแท็ก ซึ่งกาหนดโดยขบวนการนักเรียนนักศึกษา เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการส่งสารต่อไปยังผู้รับสารบนสื่อสังคมออนไลน์ 2. รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการนักเรียนนักศึกษามีลักษณะเป็นเอกภาพ โดยออกแบบสื่อให้สอดคล้องกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายของขบวนการนักเรียนนักศึกษา และ 3. กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการนักเรียนนักศึกษา คือ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก ซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์เชิงปฏิบัติการที่เป็นการจัดเหตุการณ์พิเศษและการร่วมมือกับพันธมิตร และกลยุทธ์การสื่อสารที่เน้นการเผยแพร่ข่าวสาร คุณค่าของข่าวสาร และการสื่อสารที่ชัดเจนเปิดเผย นอกจากนี้ ยังใช้กลยุทธ์การเลือกใช้สื่อ ซึ่งประกอบด้วยสื่อบุคคลและสื่อมวลชน เพื่อให้การสื่อสารประสบผลสาเร็จมากขึ้น โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์เป็นหลัก
References
เกษม จันทร์น้อย. (2537). สื่อประชาสัมพันธ์. รุ่งแสงการพิมพ์.
กุลธิดา สายพรหม. (2563). คุณค่าข่าวที่มีผลต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวจากสื่อสังคมออนไลน์, วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 29-54.
คมกริช หาญกล้า. (2563). การสื่อสารโดยใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง : กรณีศึกษาพรรคอนาคตใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. TU Digital Collection (TUDC). http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:177724
ชาสินี สําราญอินทร์ พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ และชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย. (2557). กลวิธีการใช้ภาษาเสียดสีในรายการ “เจาะข่าวตื้น”. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. https://www.hu.ac.th/Conference/conference2014/proceedings/data/3401/3401-4.pdf
ทิพย์วรรณ แสวงศรี. (2546). การวิเคราะห์เนื้อหา ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์จากนิตยสารลิซ่า [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. TU Digital Collection (TUDC). http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:115688
พีระ จิรโสภณ. (2551). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นาวิก นำเสียง. (2554). เรื่องจริงเกี่ยวกับ สื่อสังคมออนไลน์. กรุงเทพธุรกิจ. http://bangkokbiznews.com/navik/20110913/409062
ลักษณา สตะเวทิน. (2542). หลักการประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เพื่องฟ้าพริ้นติ้ง.
วรวุฒิ ภักดีบุรุษ. (2542). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกับการตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13068
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์ฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาสนา จันทร์สว่าง. (2534). การประชาสัมพันธ์ในงานสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาพพิมพ์.
วัฒณี ภูวทิศ. (2551). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สกนธ์ ภู่งามดี. (2546). การออกแบบและผลิตงานโฆษณา. แชร์โฟร์พริ้นติ้ง.
แสงเดือน ผ่องพุฒ. (2556). สื่อสังคมออนไลน์: แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้. [บทความวิชาการ, ห้องสมุดวุฒิสภา]. http://library.senate.go.th/document/Ext6685/6685991_0004.pdf
สุทิษา ประทุมกุล. (2550). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของพรรคไทยรักไทยในภาวะวิกฤตการเมืองปี 2549 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ศูนย์การเรียนรู้และหอสมุด Learning Center and Library. http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/127856.pdf
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564, 9 เมษายน). ETDA เผยผลสำรวจ IUB 63 คนไทยใช้เน็ตปังไม่ไหว เกือบครึ่งวัน โควิด-19 มีส่วน. http://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2537). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุเทน แก้วกัณหาเดชากุล. (2554). การศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์สโมสรฟุตบอลอาชีพในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีกประจำปี 2554 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Chula-longkorn Univertsity Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26513