การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด- บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
- บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
- มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
- บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
- บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
คำแนะนำผู้แต่ง
การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร
วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร เป็นวารสารวิชาการด้านนิเทศศาสตร์และเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เปิดรับบทความวิจัย (Research article) และบทความวิชาการ (Academic article) ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ มีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายนและฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม
ผู้เขียนส่งบทความฉบับเต็ม (Full paper) ผ่านระบบออนไลน์ของวารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อีเมล: jimc_mct@rmutt.ac.th
นโยบายและจริยธรรมการตีพิมพ์บทความ
1. บทความต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนดโดยกองบรรณาธิการวารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร
2. บทความต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองและประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งมาจากหลากหลายสถาบัน ไม่น้อยกว่า 3 ท่านต่อ 1 บทความ โดยผู้ประเมินบทความไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน และเป็นไปในลักษณะปกปิด (Double-blind peer review)
3. บทความต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการอื่น ๆ
4. เนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาในบทความ หากปรากฏความผิดพลาดใด ๆ ถือเป็นหน้าที่ของผู้เขียนบทความแต่ละท่านที่จะต้องรับผิดชอบบทความของตนเอง
5. ผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วมได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลในวารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร
6. ผู้เขียนบทความที่คัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น รวมถึงถึงคัดลอกผลงานตนเอง (Self-plagiarism) เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ทั้งนี้ หากกองบรรณาธิการตรวจสอบพบการกระทำดังกล่าวจะระงับการตีพิมพ์และแจ้งต้นสังกัดของผู้เขียนต่อไป
รูปแบบการเขียนบทความ: ผู้เขียนดาวน์โหลดรูปแบบการเขียนบทความ (Template) ได้ที่ www.mct.rmutt.ac.th
บทความวิจัยและบทความวิชาการ
1. พิมพ์ด้วยอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 พอยต์ในโปรแกรม Microsoft Word (.doc)
2. ความยาว 15-25 หน้ากระดาษ A4
3. ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า (Single paragraph spacing)
4. ไฟล์ภาพประกอบ (.jpg) ต้องมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi/inch
หัวข้อการเขียนบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2. ชื่อผู้เขียนบทความ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ให้ระบุชื่อผู้เขียนคนแรก (First author) และผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) พร้อมอีเมล ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
3. บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำ)
4. คำสำคัญ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ)
5. บทนำ
6. วัตถุประสงค์การวิจัย
7. นิยามศัพท์
8. ขอบเขตการวิจัย
9. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
11. การทบทวนวรรณกรรม
12. กรอบแนวคิด
13. ระเบียบวิธีวิจัย
14. ผลการวิจัยและอภิปรายผล
15. สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์
16. ข้อเสนอแนะทั่วไป
17. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต
18. กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
19. รายการอ้างอิง (APA 7th)
บทความวิชาการ
1. ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2. ชื่อผู้เขียนบทความ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ให้ระบุชื่อผู้เขียนคนแรก (First author) และผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author) พร้อมอีเมล ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
3. บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำ)
4. คำสำคัญ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุไม่เกิน 5 คำ)
5. บทนำ
6. เนื้อความ
7. บทสรุป
8. รายการอ้างอิง (APA 7th)
การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
การอ้างอิงในบทความ (In-text citation) และการอ้างอิงท้ายบทความ (References) ให้ใช้รูปแบบ
การอ้างอิงของ American Psychology Association: APA 7th edition
1. หนังสือ
1.1 ผู้แต่ง 1 คน
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์).[1]/ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)[2]./สำนักพิมพ์./URL (ถ้ามี)
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์./URL (ถ้ามี)
ตัวอย่าง
ณัฐวิภา สินสุวรรณ. (2564). การวิจัยเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Jensen, K. B. (2020). A handbook of media and communication research: qualitative and quantitative methodologies. Routledge.
1.2 ผู้แต่ง 2 คน
ภาษาไทย ชื่อ/สกุลและชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์./URL (ถ้ามี)
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ.,/&/สกุล,/อักษรชื่อย่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์./
URL (ถ้ามี)
ตัวอย่าง
กาญจนา แก้วเทพและสมสุข หินวิมาน. (2560). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). อินทนิล.
สมิทธิ์ บุญชุติมาและรุ่งโรจน์ รุ่งวิมลสิน. (2560). กลยุทธ์การสร้างสรรค์เพื่อการสื่อสารการตลาด. เซ็นจูรี่.
Lune, H., & Berg, B. (2017). Qualitative research methods for the social sciences. Pearson.
1.3 ผู้แต่ง 3-20 คน[3]
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล1,/ชื่อ/สกุล2,/ชื่อ/สกุล3,/ชื่อ/สกุล4,/ชื่อ/สกุล5,/ชื่อ/สกุล6,/ชื่อ/สกุล7,/ชื่อ/สกุล8,/
///////ชื่อ/สกุล9,/และชื่อ/สกุล.10/(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์./URL(ถ้ามี)
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ1.,/สกุล,/อักษรชื่อย่อ2.,/สกุล,/อักษรชื่อย่อ3.,/สกุล,/อักษรชื่อย่อ4.,/สกุล,/
///////อักษรชื่อย่อ5.,/สกุล,/อักษรชื่อย่อ6.,/สกุล,/อักษรชื่อย่อ7.,/สกุล,/อักษรชื่อย่อ8.,
สกุล,////////อักษรชื่อย่อ9.,/&สกุล,/อักษรชื่อย่อ10./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนัก
พิมพ์.////////URL (ถ้ามี)
ตัวอย่าง
พนม คลี่ฉายา, อภิภู กิติกำธร, จินต์สิรี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, วรรษยุต คงจันทร์, จุติพร ปริญโญกุล,
มธุชา ศิริวรรณ, ยศพล ชุติปัญญะบุตร, อรุโณทัย วรรณถาวร, ภคมินทร์ เศวตพัฒนโยธิน, ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นมา, ธนพล
เชาวน์วานิชย์ และกมลรัตน์ กิจรุ่งไพศาล. (2565). นิเทศศาสตร์กระบวนทัศน์ทางเลือกใหม่และวิธีวิทยา
การวิจัย.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Morrison, M. A., Haley, E. E., Sheehan, K. B., & Taylor, R. E. (2012). Using qualitative research in
advertising: strategies, techniques, and applications. Sage.
2. บทในหนังสือ
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทหรือชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ),/
///////ชื่อหนังสือ/(น./เลขหน้า)./สำนักพิมพ์.
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทหรือชื่อบทความ./In/ชื่อบรรณาธิการ (Ed. หรือ ///////Eds.),/ชื่อหนังสือ/(pp./เลขหน้า)./สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
อภินันท์ ธรรมเสนา. (2560). บทเรียนการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยกรณีการพัฒนาความสามารถทางการสื่อสารของ
เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ใน สมสุข หินวิมาน (บรรณาธิการ), การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
ด้วยเครื่องมือการสื่อสาร : การพัฒนากลุ่มคน (น. 17-91). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2562). หน่วยที่ 4 การผลิตสื่อ ในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อศึกษา หน่วยที่ 1-8
(น. 4-1-4-48). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Smithson, J. (2008). Focus group. In P. Alasuutari, L. Bickman & J. Brannen (Eds.), The SAGE
handbook of social research methods (pp. 357-370). SAGE.
3. บทความในวารสาร
3.1 บทความในวารสารแบบรูปเล่ม/อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีเลข DOI
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า.
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/
///////เลขหน้า.
ตัวอย่าง
รณฤทธิ์ มณีพันธุ์. (2565). การสวมบทบาทจำลองความทรงจำบาดแผลเหตุการณ์ไวท์ เทอร์เรอร์ ในสื่อวิดีโอเกม
สยองขวัญดีเทนชั่น (Detention). วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 15(3), 148-184.
ณัฐวิภา สินสุวรรณและปาริชาต สถาปิตานนท์. (2564). การชี้แนะประเด็นผ่านสื่อเพื่อผลักดันนโยบายควบคุม
การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษา. วารสารนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 39(1),
39-60.
นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง, อนันต์ ธรรมชาลัย, และพิศมัย จารุจิตติพันธ์. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้
ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย. วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 15(3),
46-84.
Chang, C. (2017). Methodological issues in advertising research: current status, shifts, and trends.
Journal of Advertising, 36(1), 2-20.
Eighmey, J. & Sar, S. (2007). Harlow Gale and the origins of the psychology of advertising. Journal
of Advertising, 36(4), 147-158.
3.2 บทความในวารสารแบบรูปเล่ม/อิเล็กทรอนิกส์ที่มีเลข DOI
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า./
///////http://doi.org/เลข DOI
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/
///////เลขหน้า./http://doi.org/เลข DOI
ตัวอย่าง
นิติศักดิ์ เจริญรูป, วรีวรรณ เจริญรูป, สิทธิชัย จีนะวงษ์, และสุจิตรา จีนะวงษ์. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศทาง
ภูมิศาสตร์เพื่อนําไปสู่การขับเคลื่อนการเกษตรด้วยข้อมูล. Journal of Applied Research on Science and Technology (JARST), 21(2), 50-65. https://doi.org/10.14456/ jarst.2022.17
Yang, Y. (2017). Computational advertising: a paradigm shift for advertising and marketing ?. IEEE
Intelligent Systems, 32(3), 3-6. https://doi.org/10.1109/mis.2017.58.
Perdue, B. C. & Summers, J. O. (1986). Checking the success of manipulations in marketing
experiments. Journal of Marketing Research, 23(4), 317-326. https://doi.org/10.2307/
3151807.
Kerrebroeck, H. V., Brengman, M. & Willems, K. (2017). When brands come to life: experimental
research on the vividness effect of Virtual Reality in transformational marketing
communications. Virtual Reality, 21, 177-191. https://doi.org/10.1007/s10055-017-0306
4. วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือรายงานการวิจัย
4.1 วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตที่ไม่ได้ตีพิมพ์
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์ หรือ
///////วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]./ชื่อมหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./[Unpublished doctoral dissertation
///////หรือ Unpublished master’s thesis]./ชื่อมหาวิทยาลัย.
ตัวอย่าง
นิลุบล ไทยรัตน์. (2542). พฤติกรรมของมารดาในการป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กอายุต่ำ
กว่า 5 ปี อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
Jung, M. S. (2014). A structural equation model on core competence of nursing students [Unpublished
doctoral dissertation]. Choong-Ang University.
4.2 วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตจากเว็บไซต์ (ไม่อยู่ในฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์)
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์ หรือ
///////วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]./ชื่อมหาวิทยาลัย./ชื่อเว็บไซต์./URL
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./[Doctoral dissertation หรือ
///////Master’s thesis]./ชื่อมหาวิทยาลัย./ชื่อเว็บไซต์./URL
ตัวอย่าง
สุพิชญา เลิศประภานนท์. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารของศูนย์การค้าอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง ที่ทำให้เกิด
การมีส่วนร่วมระหว่างศูนย์การค้าและชุมชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์]. http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1598581410.pdf
ธีรนาฏ จิระชัยพันธุ์. (2562). แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะภายในอาคารศูนย์การค้าให้ตอบรับกับพฤติกรรมของผู้
ใช้งาน: กรณีศึกษา ศูนย์การค้าระดับเมกะมอลล์ เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/
2019/TU_2019_6116033116_12320_13096.pdf
นลินี ตรัสบวรและไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2562). การศึกษาผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมของโครงการรูปแบบผสม
กรณีศึกษาโครงการ ไอคอนสยาม วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน และสามย่านมิตรทาวน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. http://cuir.car.chula.ac.th/
bitstream/123456789/69908/1/6173561525.pdf
5. รายงาน
5.1 รายงานที่จัดทำโดยหน่วยงานรัฐหรือองค์กรอื่น
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์). /ชื่อเรื่อง./URL (ถ้ามี)
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./URL (ถ้ามี)
ตัวอย่าง
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2565). รายงานประจำปี 2564.
https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/20220526-NSTDA-Annual-Report-2021.pdf
World Health Organization. (2022). World health statistics 2022: monitoring health for the SDGs,
sustainable development goals. https://www.who.int/publications/i/item/ 9789240051157
5.2 รายงานที่จัดทำโดยผู้เขียนรายบุคคลสังกัดหน่วยงานรัฐหรือองค์กรอื่น
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์). /ชื่อเรื่อง/สำนักพิมพ์./URL (ถ้ามี)
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./สำนักพิมพ์./URL (ถ้ามี)
ตัวอย่าง
อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์และกำจร หลุยยะพงศ์. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำฐานข้อมูลและ
พัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาภาพยนตร์. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Palanker, D., Volk, J., Lucia, K., & Thomas, K. (2018). Mental health parity at risk: Deregulating the
individual market and the impact on mental health coverage. National Alliance on Mental
Illness. https://www.nami.org/About-NAMI/Publications-Reports/Public-Policy-
Reports/Parity-at-Risk/ParityatRisk.pdf
6. เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ เช่น เอกสารประกอบการสอนหรือเอกสารอัดสำเนา เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ เช่น เอกสารประกอบการสอนหรือเอกสารอัดสำเนา
ภาษาไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเอกสาร/[เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]/คณะ,/มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อ./ชื่อเอกสาร/[Unpublished manuscript]/คณะ,/มหาวิทยาลัย.
ตัวอย่าง
สุทัศน์ บุรีภักดี. (2548). เทคนิคการจัดแสงภาพยนตร์และโทรทัศน์ [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะเทคโนโลยีสื่อสาร
มวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จารุณี เจริญรส. (2562). การถ่ายภาพอาหารเพื่อการโฆษณา. [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาเทคโนโลยี
การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Blackwell, E., & Conrod, P. J. (2003). A five-dimensional measure of drinking motives [Unpublished
manuscript]. Department of Psychology, University of British Columbia.
7. ข้อมูลออนไลน์หรือสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต
7.1 เว็บไซต์กรณีปรากฏวันเผยแพร่ข้อมูล
ภาษาไทย ชื่อ/สกุลผู้เขียน[4]./(ปี,/วัน/เดือนที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อผู้เขียน./(ปี,/วัน/เดือนที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL
ตัวอย่าง
สาธิต วิทยากร. (2563, 22 พฤศจิกายน). จาก CSR สู่ CSV แชร์และแบ่งปัน ก้าวไปอย่างยั่งยืน. https://www.
bangkokbiznews.com/blogs/columnist/126448
ไทยรัฐออนไลน์. (2565, 25 มีนาคม). 30 ขนมไทย สวยงามน่ารับประทานราวออกจากครัวท้าวทองกีบม้า.
https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1967504
Toner, K. (2020, September 24). When Covid-19 hit, he turned his newspaper route into a lifeline for
senior citizens. CNN. https://www.cnn.com/2020/06/04/us/coronavirus-newspaper-
deliveryman-groceries-senior-citizens-cnnheroes-trnd/index.html
National Institute of Mental Health. (2018, July). Anxiety disorders. U.S. Department of Health and
Human Services, National Institutes of Health. https://www.nimh.nih.gov/health/
topics/anxiety-disorders/index.shtml
7.2 เว็บไซต์กรณีไม่ปรากฏวันเผยแพร่ข้อมูล
ภาษาไทย ชื่อ/สกุลผู้เขียน./(ม.ป.ป.)./ชื่อบทความ./สืบค้นเมื่อ (ปี,/วัน/เดือนที่สืบค้น),/จาก/ชื่อ
///////เว็บไซต์./URL
ภาษาอังกฤษ สกุล,/อักษรชื่อย่อผู้เขียน./(n.d.)./ชื่อบทความ./Retrieved (ปี,/วัน/เดือนที่สืบค้น),/from
///////ชื่อเว็บไซต์./URL
ตัวอย่าง
U.S. Census Bureau. (n.d.). U.S. and world population clock. U.S. Department of Commerce. Retrieved
January 9, 2020, from https://www.census.gov/popclock/
8. การแทรกตารางและภาพประกอบ
8.1 การแทรกตาราง ใข้คำว่า "ตารางที่" พิมพ์ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 14 พอยต์ ตัวหนา จัดหน้าแบบชิดซ้าย เช่น ตารางที่ 1 ตารางที่ 2 ตารางที่ 3 เป็นต้น
8.2 ภาพประกอบ ใช้ภาพที่มีความคมชัด 300 dpi ใช้คำว่า "ภาพที่" พิมพ์ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 14 พอยต์ ตัวหนา จัดหน้าแบบชิดซ้าย เช่น ภาพที่ 1 ภาพที่ 2 ภาพที่ 3 เป็นต้น
8.3 หากตารางและภาพประกอบมีแหล่งที่มาของข้อมูล ให้อ้างอิงโดยใช้คำว่า ที่มา : พิมพ์ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 14 พอยต์ ตัวหนา จัดหน้าแบบชิดซ้าย
ตัวอย่าง : กรณีอ้างอิงภาพประกอบที่มาจากแหล่งข้อมูลอื่น
ภาพที่ 1 ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมของโครงการรูปแบบผสม กรณีศึกษา โครงการไอคอนสยามวิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน และสามย่านมิตรทาวน์
ที่มา : นลินี ตรัสบวรและไตรรัตน์ จารุทัศน์ (2562)
ตัวอย่าง : กรณีผู้วิจัยเป็นผู้ออกแบบภาพ
ภาพที่ 2 สรุปแนวทางการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับชุมชนของศูนย์การค้าไอคอนสยาม
ที่มา : ภาพโดยผู้วิจัย สาวิตรี สุวรรณกูล
หมายเหตุ :
[1] กรณีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ใส่ (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)
[2] กรณีพิมพ์ครั้งที่ 1 ไม่ต้องระบุครั้งที่พิมพ์
[3] กรณีผู้แต่ง 3-20 คน ให้ใส่ชื่อและนามสกุลของทุกคน กรณีผู้แต่ง 21 คนขึ้นไป ให้ใส่ชื่อและนามสกุลของผู้แต่งคนที่ 1-19 ตามด้วยเครื่องหมาย ,... ก่อนชื่อคนสุดท้าย
[4] กรณีผู้เขียนเป็นหน่วยงานให้ใส่ชื่อหน่วยงาน
บทความวิจัย
Section default policy
นโยบายส่วนบุคคล
ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ