จริยธรรมการตีพิมพ์

นโยบายและจริยธรรมการตีพิมพ์บทความ (Publication Ethics)

  1. บทความต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนดโดยกองบรรณาธิการวารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร
  2. บทความต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองและประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งมาจากหลากหลายสถาบัน ไม่น้อยกว่า 3 ท่านต่อ 1 บทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพิจารณาบทความไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และการประเมินบทความเป็นไปในลักษณะปกปิด (Double-blind peer review)
  3. บทความต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการอื่น ๆ
  4. เนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นทัศนะส่วนตัวของผู้นิพนธ์ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาในบทความ หากปรากฏความผิดพลาดใด ๆ ถือเป็นหน้าที่ของผู้นิพนธ์แต่ละท่านที่จะต้องรับผิดชอบบทความของตนเอง
  5. ผู้นิพนธ์หรือผู้นิพนธ์ร่วมได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลในวารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร
  6. ผู้นิพนธ์ที่คัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น รวมถึงคัดลอกผลงานตนเอง (Self-plagiarism) เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง ทั้งนี้ หากกองบรรณาธิการตรวจสอบพบการกระทำดังกล่าวจะระงับการตีพิมพ์และแจ้งต้นสังกัดของผู้นิพนธ์ต่อไป

บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ (Editor & Editorial Board)

  1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานทางวิชาการ
  2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องพิจารณาและกลั่นกรองคุณภาพของบทความวิจัยและบทความวิชาการก่อนตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
  3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาบทความตามกำหนดการเผยแพร่ของวารสาร ในลักษณะปกปิด (Double-blind peer review) โดยปราศจากอคติและผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
  4. บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาบทความ ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ของผู้นิพนธ์กับบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยกเว้นการเปิดเผยข้อมูลตามกระบวนการพิจารณากับผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพบทความ

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer)

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์สอดคล้องกับศาสตร์ของบทความของผู้นิพนธ์
  2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องประเมินบทความด้วยความยุติธรรม เป็นกลาง และปราศจากอคติ
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาความลับของผู้นิพนธ์และไม่เปิดแผยข้อมูลใด ๆ ของบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องประเมินบทความที่สร้างสรรค์และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาบทความบนมาตรฐานทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในศาสตร์
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งแก่บรรณาธิการทันทีที่ปรากฏว่าบทความที่ประเมินคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น รวมถึงคัดลอกผลงานตนเอง (Self-plagiarism) หรือการกระทำอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามนโยบายและจริยธรรมการตีพิมพ์บทความของวารสาร

ผู้นิพนธ์ (Author)

  1. ผู้นิพนธ์ต้องส่งบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการใดมาก่อน หรืออยู่ในระหว่างการขอรับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องอนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่บทความ
  3. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าเนื้อหาในบทความเป็นผลงานของตนเองและเป็นผลงานที่มีข้อมูลถูกต้องตามมาตรฐานทางวิชาการของศาสตร์นั้น ๆ ไม่ได้คัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น รวมถึงคัดลอกผลงานตนเอง (Self-plagiarism) ทั้งนี้ หากกองบรรณาธิการตรวจสอบพบการกระทำผิดจริยธรรมจะระงับการตีพิมพ์และแจ้งต้นสังกัดของผู้นิพนธ์ต่อไป
  4. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ปรากฏในเนื้อหาของบทความให้ตรงกับรายการอ้างอิงท้ายบทความให้ถูกต้องและครบถ้วนตามรูปแบบการอ้างอิงของวารสาร
  5. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนและผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflicts of Interest) (ถ้ามี)