ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตของผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ตำบลวังพิณพาทย์ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ทาริกา กรงทอง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลวังพิณพาทย์ อาเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
  • พงษ์พิมาย เกิดเกตุ นักวิชาการสาธารณสุขชานาญการ สานักงานสาธารณสุขอาเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

DOI:

https://doi.org/10.60101/jimc2023.834

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, พฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิต, การสื่อสารสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนา ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การเข้าถึงบริการสุขภาพ และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ จานวน 152 คน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลวังพิณพาทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่า IOC = 0.67 ค่าความเชื่อมั่น = 0.70 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระยะเวลาในการศึกษา คือ มกราคม พ.ศ. 2564 - เมษายน พ.ศ. 2565 ผลการศึกษา พบว่า ความรู้ อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 80.3) ทัศนคติอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 82.9) การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุม อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 100.0) การรับรู้อุปสรรคของการควบคุมอยู่ในระดับต่า (ร้อยละ 88.2) การเข้าถึงบริการสุขภาพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 59.2) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 68.9) พฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 67.1) และมีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนา ได้แก่ ความรู้ การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการควบคุมความดันโลหิต การเข้าถึงบริการสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (r = 0.190, p = 0.055) ทัศนคติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (r = 0.061, p = 0.542) การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุมความดันโลหิตมีความสัมพันธ์ในระดับต่ากับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (r = 0.229, p = 0.020) การรับรู้อุปสรรคของการควบคุมความดันโลหิตไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (r = 0.097, p = 0.331) การเข้าถึงบริการสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (r = 0.012, p = 0.902) และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ากับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต (r = 0.260, p = 0.008)

References

ภาษาไทย

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. (2564). รายละเอียดตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ(โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สืบค้น 9 มกราคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1186620211012030022.pdf

ขวัญใจ ศุกรนันทน์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการบริบาลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในเขตเมือง. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 31(3), 237-246.

จินตนา มณีรัตน์ ขวัญเมือง นิรัตน์. (2562). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารสุขศึกษา, 42(1), 190-203.

จิราวรรณ เจนจบ และสุพัฒนา คำสอน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกศกาสร อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ, 721-734.

จันทนี เปี่ยมนุ่ม. (2550). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง กึ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง วท.ม. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภาพร ห่วงสุขสกุล. (2555). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์. ส.ม.. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

เนาวรัตน์ จันทานนท์, บุษราคัม สิงห์ชัย และวิวัฒน์ วรวงษ์. (2554). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัย มข., 16(6), 749-758.

ปฐญาภรณ์ ลามุน, นภาพร มัธยมางกูร และอนันต์ มาลรัตน์. (2554). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารการแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 18(3), 160-169.

วลัยพร สิงห์จุ้ย ,สัญญา สุขขำ ,เพ็ชรน้อย ศรีผุดผ่อง พัชรินทร์ มณีพงศ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส ของประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 84-94.

ศุภวรรณ มโนสุนทร สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2553).รายงานการพยากรณ์โรคความดันโลหิตสูง. ค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2565, จาก www.interfetpthailand.net/forecast/files/

report_2012/report_2012_11_no01.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2565). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติระดับกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2565 จังหวัดสุโขทัย.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2556). สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565, จากhttp://bps.moph.go.th/new_bps/sites/defaul/files/

statistical2556.pdf

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2557). ยุทธศาสตร์ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ.2558. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565, จากhttp:/lbps.ops.moph.go.th/Healthinformation/2.3.6_54.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556).จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565, จาก http://haincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php

สุมาลี วังธนากร, ชุติมา ผาติดำรงกุล และปราณี คำจันทร์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. สงขลานครินทร์เวชสาร, 26(6),539-547.

สุมาพร สุจำนงค์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ.

เสาวนีย์ ศรีดิระกุล, เฉลิมศรี นันทวรรณ, สุพรรณี ธรากุล, โพยม บัลลังโพธิ์ และอุษา เภานิบล. (2542). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความล้มเหลวของการควบคุมความดันโลหิตสูง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 29(1). 49-58.

ภาษาอังกฤษ

Best, J. (1977). Research in education. New Jersey: Prentice Hall.

03

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023

How to Cite

กรงทอง ท., & เกิดเกตุ พ. (2023). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตของผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ตำบลวังพิณพาทย์ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 2(2), 35–44. https://doi.org/10.60101/jimc2023.834