อิทธิพลของฟิลเตอร์ประกอบการจัดแสงที่มีผลต่อโทนผิว เพื่อใช้ในการผลิตภาพถ่ายโฆษณาสกินแคร์

ผู้แต่ง

  • ชนิดา ศักดิ์สิริโกศล อาจารย์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

DOI:

https://doi.org/10.60101/jimc2023.708

คำสำคัญ:

ภาพถ่ายโฆษณา, ฟิลเตอร์ประกอบการจัดแสง, แสงแข็ง, สกินแคร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของฟิลเตอร์ประกอบการจัดแสงที่มีผลต่อโทนผิวเพื่อใช้ในการผลิตภาพถ่ายโฆษณาสกินแคร์ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการทดลอง ถ่ายภาพนางแบบ 2 สีผิว คือ ผิวสีแทนและผิวสีขาวอมชมพู ซึ่งไม่ใช้ฟิลเตอร์ จำนวน 1 ภาพ และใช้ฟิลเตอร์สีจำนวน 20 สี ถ่ายภาพในสตูดิโอด้วยกล้อง DSLR ยี่ห้อ Canon รุ่น 700D เลนส์ 70-200 mm โดยควบคุมตัวแปร ได้แก่ คุณภาพแสง ตำแหน่งไฟ ขนาดภาพ รูรับแสง 8 เท่ากันทุกภาพ จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่าง 30 คน ดูภาพผ่านจอมอนิเตอร์ ประเมินความกระจ่างใส/หมองคล้ำ และผิวนุ่มนวล/หยาบกร้าน ด้วยแบบสอบถาม

            ผลการวิจัย พบว่า การผลิตภาพถ่ายโฆษณาสกินแคร์ของนางแบบผิวสีแทนและผิวสีขาวอมชมพูเพื่อแสดงให้เห็นถึงความกระจ่างใสและนุ่มนวล การนำฟิลเตอร์มาใช้ในการจัดแสงไม่มีอิทธิพลต่อการทำให้รู้สึกถึงความกระจ่างใสและนุ่มนวลของนางแบบทั้ง 2 สีผิว ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่าคุณภาพแสงที่ใช้ในการผลิตภาพถ่ายครั้งนี้เป็นแสงแข็งซึ่งทำให้ภาพสีผิวของนางแบบดูไม่นุ่มนวล แข็งกระด้าง นอกจากนั้น บริเวณผิวหน้ามีเงาสะท้อนมากเกินไป แตกต่างจากภาพถ่ายสกินแคร์ทั่วไปซึ่งนิยมใช้แสงนุ่มในการผลิตภาพถ่าย

 

 

Author Biography

ชนิดา ศักดิ์สิริโกศล, อาจารย์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

 

References

ภาษาไทย

ณัฐา ฉางชูโต. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธวัลวรัตน์ อินทนนชัย. (2552). การโฆษณาเครื่องดื่มชูกําลังและการบริโภคมายาคติของผู้ขับรถรับจ้างสี่ล้อในจังหวัดเชียงใหม่. [ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/15255

ภักตร์พิมล เสนีย์. (2550). ออบติกส์ทางการถ่ายภาพ. ศูนย์เทคโนโลยีการพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2555). การถ่ายภาพโฆษณา. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2565, 25 เมษายน). กระบวนการผลิตภาพถ่ายโฆษณา. https://www.chonburi.spu.ac.th/comm/admin/knowledge/A4023.pdf

ศิริพัทร บุญพิมพ์และวีรพงษ์ พวงเล็ก. (2565). การเปิดรับสื่อโฆษณาบนสื่อสังคมออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเครื่องสำอางของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(1), 176-187.

สกนธ์ ภู่งามดี. (2546). การออกแบบและผลิตงานโฆษณา. แซทโฟร์พริ้นติ้ง.

BrandAge Online. (2561, 25 เมษายน). ส่องตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม 57,000 ล้าน กับแลนด์สเคปใหม่ที่ต้องจับตามอง. https://www.brandage.com/article/4274/-THAILAND-BEAUTY-MARKET.

Yochuwa Samarom. (2564, 2 กุมภาพันธ์). แสงแข็ง (HARD LIGHT) กับแสงนุ่ม (SOFT LIGHT) คืออะไรและใช้ในการถ่ายภาพ PORTRAIT อย่างไร. https://www.photoschoolthailand.com/hard-light-vs-soft-light-for-portrait-photography/

ภาษาอังกฤษ

Angelica Dass. (2023, 1 April). Humanae Pantone Skin Color. https://angelicadass.com /photography/humanae/

Vanon, R. (2017, August 28). Six setups for beauty lighting. https://profoto.com/int/profoto-stories/six-setups-for-beauty-lighting

บทความ 05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023

How to Cite

ศักดิ์สิริโกศล ช. . (2023). อิทธิพลของฟิลเตอร์ประกอบการจัดแสงที่มีผลต่อโทนผิว เพื่อใช้ในการผลิตภาพถ่ายโฆษณาสกินแคร์. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 2(1), 90–109. https://doi.org/10.60101/jimc2023.708