การออกแบบแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการและลดปริมาณขยะอาหาร
DOI:
https://doi.org/10.60101/jimc2022.34คำสำคัญ:
ตัวต้นแบบ, การออกแบบแอปพลิเคชัน, การจัดการอาหารและลดปริมาณขยะอาหารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการแอปพลิเคชันการจัดการและลดปริมาณขยะอาหาร 2. ศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้งานร่างการออกแบบแอปพลิเคชัน 3. ออกแบบตัวต้นแบบแอปพลิเคชัน 4. ประเมินคุณภาพของตัวต้นแบบแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญ และ 5. ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อตัวต้นแบบแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 180 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.00) สถานภาพโสด (ร้อยละ 68.30) มีพฤติกรรมประกอบอาหารด้วยตนเอง (ร้อยละ 70.00) มีระดับความรู้เรื่องการตรวจสอบการหมดอายุของอาหารระดับน้อย (ร้อยละ 23.30) และประสบปัญหาอาหารหรือวัตถุดิบเน่าเสียในตู้เย็น (ร้อยละ 20.00) 2. ความคิดเห็นต่อการใช้งานร่างการออกแบบแอปพลิเคชัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกรูปแบบแอปพลิเคชันที่แสดงการใช้งานชัดเจน ลดขั้นตอนการทำงานของผู้ใช้แต่ยังคงแสดงข้อมูลครบถ้วน มีหน้าจอความเรียบง่าย สบายตา เรียนรู้ได้ง่าย และมีขนาดของสิ่งที่แสดงในหน้าจอใหญ่เพียงพอต่อการรับรู้ของผู้ใช้ 3. หลักการออกแบบแอปพลิเคชันเน้นการใช้งานง่าย การแสดงผลของหน้าอุปกรณ์สวยงามทันสมัย น่าใช้งาน และตอบสนองต่อการกดใช้งานได้ มีฟีเจอร์หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานของผู้ใช้ 4. ภาพรวมการประเมินคุณภาพของตัวต้นแบบแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี (= 4.26, S.D. = 0.80) และ 5. ภาพรวมความพึงพอใจที่มีต่อตัวต้นแบบแอปพลิเคชันจากกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (= 4.31, S.D. = 0.70)
References
ภาษาไทย
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). รายงานประจำปี 2563 กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย. https://bit.ly/3DftrpX
กุลธิดา บรรจงศิริ. (2561). แนวทางการจัดการอาหารที่ถูกทิ้ง. วารสาร SAU JOURNAL OF SCIENCE & TECHNOLOGY, 4(1), 43-53.
ขวัญคณิศร์ อินทรตระกูลและณัฐฐา เพ็ญสุภา. (2563). การสูญเสียอาหารและขยะอาหารในประเทศไทยและแนวทางการแก้ปัญหา. วารสารการเกษตรนเรศวร, 17(2), 1-15.
จอมจันทร์ นทีวัฒนาและวิชัย เทียนถาวร. (2560). ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลดขยะชุมชนแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(2), 316-330.
ชัยนันต์ ไชยเสน. (2563). การจัดการขยะอาหารในครัวของโรงแรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการวัตถุดิบ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 19(2), 371-387.
ดิเรกฤทธิ์ ทวะกาญจน์. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสำหรับเทศบาลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15171
ธเรศ ศรีสถิต. (2553). วิศวกรรมการจัดการมูลฝอยชุมชน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิลมณี อุทิศผลและดวงพร พุทธวงค์. (2564). อิทธิพลของทัศนคติและการรับรู้ข่าวสารที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 321-332.
ปิยรัตน์ วงศ์จุมมะลิและรัดเกล้า เปรมประสิทธิ์. (2560). ของเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste) : แนวคิดและหลักการสู่สังคมปลอดขยะ. การสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ครั้งที่ 16 ประจำ ปีการศึกษา 2559 (น. 915-929).
พีรพนธ์ ตัณฑ์จยะ. (2561). การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ User Experience Design of Artificial Intelligent Technology. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(1), 39-46.
ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์. (2559). การลดขยะอาหารในครัวเรือนแบบครบวงจร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 36(3), 19-36.
รัชนีพร แก้ววิชิต. (2561). การรับรู้และการเข้าถึงผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน BTS SkyTrain [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ] http://dspace.bu.ac.th/bitstream/ 123456789/ 4073/1/ratchaneporn_kaew.pdf
วริศรา เอกลาภ ธนภรณ์ ศรฉิมพลี และดาราพร เถื่อนเหลือ. (2564). การออกแบบตัวต้นแบบแอปพลิเคชันกิจกรรมพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2562). การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินเพื่อลดปัญหาขยะอาหารที่เหมาะสมกับประเทศไทย. https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2019/09/final_food_waste_management.pdf
อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย พิมลพรรณ หาญศึก และเพียงใจ พีระเกียรติขจร. (2554). แนวทางการจัดการขยะให้เหลือศูนย์ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 7(1), 17-29
ภาษาอังกฤษ
Portmann, L. (2022). Crafting an audience: UX writing, user stylization, and the symbolic violence of little texts. Discourse Context & Media, 49(2022), 1-8. https://doi.org/10.1016/ j.dcm.2022.100622
The GrassRoots Recycling Network. (2004). What is Zero Waste. http://www.grrn.org
Yazid, A. M., & Jantan, H. A. (2017). User Experience Design (UXD) of mobile application: An implementation of a case study. Journal of Telecommunication, Electronic and Computer Engineering, 3(9), 197-200.