การศึกษาทิศทางของแสงที่มีความเหมาะสมกับการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาขนมไทย

ผู้แต่ง

  • จารุณี เจริญรส คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • กฤษฎา เลขยันต์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • แนน บุญศิริ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อลิษา สีสด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

DOI:

https://doi.org/10.60101/jimc2022.33

คำสำคัญ:

การถ่ายภาพโฆษณา, ทิศทางของแสง, ขนมไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาทิศทางของแสงที่มีความเหมาะสมกับการถ่ายภาพโฆษณาขนมไทยและ 2. ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อภาพถ่ายโฆษณาขนมไทย โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงทดลองและการสำรวจ การศึกษาแสงที่เหมาะสมจาก 6 ทิศทาง ได้แก่ แสงจากด้านหน้า แสงจากด้านหลัง แสงจากด้านข้าง แสงจากด้านบน แสงเฉียงหน้า และแสงเฉียงหลัง โดยปรับระดับความสูงของหัวไฟให้สูงกว่าวัตถุประมาณ 60 องศา ในการถ่ายภาพขนมไทยทั้ง 2 ชนิด คือ ขนมทองหยิบทองหยอดและขนมบัวลอย ผลการประเมินความเหมาะสมของทิศทางแสงจากกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน พบว่า ทิศทางแสงหลังเป็นทิศทางที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพขนมไทยประเภทขนมทองหยิบทองหยอดและขนมบัวลอย เนื่องจากทิศทางแสงประเภทนี้เป็นการปรับระดับความสูงของไฟหลักให้สูงขึ้นเหนือระดับขนมไทยที่นำมาทดลอง จึงทำให้แสงหลังสามารถนำเสนอรายละเอียดของขนมได้ดีและยังคงไว้ซึ่งความเปรียบต่างของแสง ส่งผลให้สีสันของภาพมีความชัดเจนและทำให้เกิดความน่ารับประทาน นอกจากนั้น ผลการวิจัยยังพบว่าขั้นตอนการผลิตภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาขนมไทยประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนก่อนการผลิต ขั้นตอนการผลิต และขั้นตอนหลังการผลิต จากการนำผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 มาใช้ผลิตภาพถ่ายโฆษณา โดยผลการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ส่วนใหญ่ระบุว่าพึงพอใจภาพโฆษณาขนมไทยประเภทขนมทองหยิบทองหยอดในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50) พึงพอใจภาพโฆษณาขนมไทยประเภทขนมบัวลอยในภาชนะแบบโปร่งแสงในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.30) และพึงพอใจภาพโฆษณาขนมไทยประเภทขนมบัวลอยในภาชนะแบบทึบแสงในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.00) ตามลำดับ

References

ภาษาไทย

กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. (2552). การกำหนดประชากรและกลุ่่มตััวอย่่าง. ในประกาย จิิโรจน์์กุุล (บรรณาธิิการ), การวิิจััยทางการพยาบาล : แนวคิด หลักการ และวิิธีีปฏิบัติ (น. 85-114). สถาบัันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุุข.

กิตติพงศ์ รุ่งกาญจนากร. (2558). การผลิตภาพถ่ายอาหารอิตาเลียนเพื่อใช้ในงานโฆษณา. [ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. https://opac.rmutt.ac.th/catalog/ BibItem.aspx?BibID=b00150464

จารุณี เจริญรส. (2562). การถ่ายภาพอาหารเพื่อการโฆษณา. [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไทยรัฐออนไลน์. (2565, 25 มีนาคม). 30 ขนมไทย สวยงามน่ารับประทานราวออกจากครัวท้าวทองกีบม้า.https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1967504

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2557). การสื่อสารการตลาด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นพดล ธนะภักดิ์. (2565, 25 เมษายน). การถ่ายภาพโฆษณาและประชาสัมพันธ์. http//www.student. nu.ac.th/sunita/kod02.htmt

นุสรา แสงอร่าม. (2561). ดัชนีชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ. [ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม]. https://e-research. siam.edu/wp-content/uploads/2019/06/PHD-DBA-2018-THESIS-The-Specified-Standard-Indicators-of-Thai-Dessert-Shops-Based-on-Entrepreneur-Perspectives-to-Foreign-Market-compressed.pdf

ฝ่ายภาพนิตยสาร Face. (2549). แสงสำหรับการถ่ายภาพ. เฟื่องอัมพร.

ภักตร์พิมล เสนีย์. (2548). การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร. ศูนย์เทคโนโลยีการพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภักตร์พิมล เสนีย์. (2550). ออบติกส์ทางการถ่ายภาพ. ศูนย์เทคโนโลยีการพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มิชลิน ไกด์. (2565, 25 มีนาคม). 9 ขนมไทยมงคล. https://guide.michelin.com/th/th/article/features/9-auspicious-thai-desserts

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2553). การถ่ายภาพดิจิทัล. โอเดียนสโตร์.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2565, 25 เมษายน). กระบวนการผลิตภาพถ่ายโฆษณา. https://www.chonburi.spu.ac.th/comm/admin/knowledge/A4023.pdf

สมาน เฉตระการ. (2548). การถ่ายภาพเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 52). เทคนิค พริ้นท์ติ้ง.

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2565, 25 มีนาคม). ขนมไทย. https://www.lib.ru.ac.th/ journal/kanom.html

สุทัศน์ บุรีภักดี. (2548). เทคนิคการจัดแสงภาพยนตร์และโทรทัศน์. [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภาษาอังกฤษ

Belch, G. E., & Belch, M. A. (2018). Advertising and promotion: an integrated marketing communication perspective. McGraw-Hill.

O’Guinn, T., Allen, C., & Semenik, R. (2009). Advertising and integrated brand promotion. South-Western Cengage Learning.

02

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2022

How to Cite

เจริญรส จ., เลขยันต์ ก., บุญศิริ แ. ., & สีสด อ. . (2022). การศึกษาทิศทางของแสงที่มีความเหมาะสมกับการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาขนมไทย. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 1(1), 25–47. https://doi.org/10.60101/jimc2022.33