ผลของสื่อวีดิทัศน์การเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการ ต่อการเผยแพร่ความรู้ : กรณีศึกษาสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • วิทวัส ยุทธโกศา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ไพฑูรย์ ศรีฟ้า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.60101/jimc2024.1229

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์, การเลี้ยงสัตว์น้ำ, การเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงบูรณาการ, สถานีวิจัยประมงศรีราชา

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่องการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการเพื่อการเผยแพร่ความรู้ และเพื่อเปรียบเทียบผลและความพึงพอใจของ
ผู้ที่สนใจงานวิจัยด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการ กรณีศึกษาสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลสื่อและการเผยแพร่ของสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพัฒนาสื่อฯ จากนั้นประเมินคุณภาพสื่อฯ ปรับปรุง และทดสอบด้วยเครื่องมือแบบประเมินและแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 107 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อวีดิทัศน์เรื่องการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการเพื่อการเผยแพร่ความรู้ สถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายมีระดับคุณภาพด้านการรับรู้เนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.50) ด้านเทคนิคการผลิตในระดับดีมาก ( = 4.57) และด้านภาพรวมในระดับดีมาก ( = 4.50), 2) ผลคะแนนความรูความเขาใจการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการของผู้รับชมสื่อมีผลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 63.12 โดยโดยคาเฉลี่ยของคะแนนก่อนรับชมสื่อและหลังการรับชมสื่อฯ มีค่าเป็น  = 10.09 และ 17.78 ตามลำดับ และ 3) กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจที่มีต่อสื่อฯ ในด้านเทคนิคการผลิตสื่อระดับพึงพอใจมาก ( = 4.23) และสื่อมีประโยชน์ต่อการศึกษา ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.42) ผลการวิจัยครั้งนี้ จึงสามารถส่งเสริมการเผยแพร่และให้ความรู้ผลงานวิจัยของสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

ภาษาไทย

กรมประมง. (2566, 12 เมษายน). สถิติข้อมูล. https://www4.fisheries.go.th/dof/service_item/5/0/13/0/6.

กิตติธัช ศรีฟ้า, ดลพร ศรีฟ้า, ณัฐวุฒิ สิงห์หนองสวง, และเจตน์จันทร์ เกิดสุข. (2563). การสร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดีรูปแบบความเป็นจริงเสมือนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวใต้ทะเลไทย กรณีศึกษา : แหล่งเรือจมเพชรบุรีเบรเมน. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 19(2), 192-203.

จิตรกร ผดุง, สินีภรณ์ วัฒนจินดา, และมนต์ชัย น้อยคำสิน. (2563). การศึกษากระบวนการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านรหัสคิวอาร์เรื่อง “เขื่อนวชิราลงกรณ์”. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(1), 21-32.

ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ, ณัฐพร โกศัยกานนท์, สมภาศ สุขชนะ, และธีรวัฒน์ รัตนประภาเมธีรัฐ. (2566). การผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อนำเสนอกระบวนการวิศวกรสังคมกรณีพื้นที่ ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ, 5(2), 145-160.

รุ่งทิวา เสาร์สิงห์, ภคพงษ์ แก่นไม้อ่อน, และเตชินท์ แซ่เตีย. (2565). การผลิตสื่อวีดิทัศน์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เรื่อง “ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนบางขุนเทียน”. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(1), 81-87.

อุทัยพรรณ สุดใจ. (2545). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

04

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2024

How to Cite

ยุทธโกศา ว., & ศรีฟ้า ไ. (2024). ผลของสื่อวีดิทัศน์การเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานเชิงบูรณาการ ต่อการเผยแพร่ความรู้ : กรณีศึกษาสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 3(1), 52–69. https://doi.org/10.60101/jimc2024.1229