ภาวะผู้นำทางการศึกษายุคการพลิกผันของดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ณัฐกุล ชอบใจ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสองห้องพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์
  • พรสุดา ประมายะยัง ครูโรงเรียนวัดโนนศรีคูณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.6

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางการศึกษา, ยุคความพลิกผันของดิจิทัล, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการเรื่อง ภาวะผู้นำทางการศึกษายุคการพลิกผันของดิจิทัล กล่าวถึงลักษณะของผู้นำทางการศึกษาในยุคนี้ ความเจริญก้าวหน้าของสภาพสังคมปัจจุบันส่งผลให้ดิจิทัลมีบทบาทในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาซึ่งมีความสำคัญในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวและเรียนรู้ให้เท่าทันความเจริญ ในขณะเดียวกันผู้นำทางการศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้และเข้าใจบริบทของสถานศึกษาในยุคการพลิกผันของดิจิทัลนี้เป็นอย่างดี บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอลักษณะของผู้นำทางการศึกษายุคการพลิกผันของดิจิทัลเพื่อให้ผู้นำทางการศึกษาได้ร่วมกันสร้างและพัฒนาความสามารถของบุคลากรและองค์กรให้เท่าทันเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง มีความตระหนักรู้เท่าทันเทคโนโลยี พร้อมนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรม ตลอดจนมีวิสัยทัศน์และการบริหารที่จะพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่มาพัฒนาองค์กร

นอกจากนี้แล้ว ผู้นำทางการศึกษาจะต้องเป็นแบบอย่างของการพัฒนาทักษะความคิดแบบยืดหยุ่น รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้บนพื้นฐานของหลักจริยธรรม คุณธรรมและวัฒนธรรมที่จำเป็นในยุคการพลิกผันของดิจิทัล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทางการศึกษาและผู้นำจะต้องพึงตระหนักการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้บนพื้นฐานหลักจริยธรรม คุณธรรมและวัฒนธรรมที่จำเป็นสำหรับองค์กรเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการเรียนรู้ที่มีการปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางยุคการพลิกผันของดิจิทัล

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพสถานศึกษา. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). กิจกรรมคาบแนะแนวเล่มที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กิดานันท์ มะลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ทริปเปิ้ลกรุ๊ป จำกัด.

จิรพล สังข์โพธิ์, สุวรรณ จันทิวาสารกิจ และเสาวนีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรยุคดิจิทัล กรณีศึกษา : องค์กรไอทีและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทางการศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 7(1) : 217-225.

ธีระ รุญเจริญ. (2555). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท แอล.ที.เพรส จำกัด.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2555). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: พื้นฐานการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2565). การพลิกโฉมระบบการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ. สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ. ทิพยวิสุทธิ์.

ศิลป์ชัย สุวรรณมณี. (2555). องค์ประกอบสำคัญสู่การเป็นผู้นำแบบยั่งยืน. วารสารปาริชาต. 25(1) : 77-85.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ : สหายบล็อกและการพิมพ์

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : เพลินสตูดิโอ.

อารีย์ น้ำใจดี และพิชญาภา ยืนยาว. (2562). ผู้นำกับการบริหารการศึกษายุคดิจิทัล. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 11. 11-12 กรกฎาคม 2558. 1643-1650. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Andy Hargreaves and Dean Fink. (2004). The Seven Principles of Sustainable Leadership. Educational Leadership: Leading in Tough Times. 61(7) : 8-13.

Bradley University (n.d.). 5 Elements to succeed in education leadership. [Online]. Available : https://bit.ly/3iM4gQZ. Retrieved July 21, 2023.

Driscoll, M. (2020). School leadership for the 21st century. [Online]. Available: http://gg.gg/nvdn0. Retrieved July 21, 2023.

Elias, M. J. (2014). The 7 Characteristics of a Good Leader.[Online]. Available : http://gg.gg/nvdib. Retrieved July 21, 2023.

Katz, Robert L. (1955). Skills of an Effective Administrator. Harvard Business Review. 33-42.

Peterson,T. (2011). Innovation in Action: Leading by example. EDTECH. 9(3) : 49-51.

School of Education, Mills, (n.d.). Effective leadership styles used in education. [Online]. Available : http://gg.gg/nvdu5 . Retrieved July 21, 2023.

Sheninger, E. (2014). Digital Leadership: Changing Paradigms for Changing Times. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Yuduo, Lu and et al. (2011). Implications on I Ching on innovation management. Chinese Management Studies. 5(4) : 392-402.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-01-2024

How to Cite

ชอบใจ ณ., & ประมายะยัง พ. (2024). ภาวะผู้นำทางการศึกษายุคการพลิกผันของดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(1), 89–104. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.6