แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมอาชีพจากอัตลักษณ์ชุมชนบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.16คำสำคัญ:
แนวทาง, การพัฒนา, ส่งเสริมอาชีพ, อัตลักษณ์ชุมชน, บ้านใหม่บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ชุมชน และแนวทางในการพัฒนาและการส่งเสริมอาชีพชุมชนบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นำชุมชน ตัวแทนชาวบ้าน ผู้นำทางศาสนา บุคคล สำคัญของชุมชน โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำข้อมูลมาสรุปและเสนอแนะ
ผลการวิจัย พบว่า 1) อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านใหม่ มีอารยะธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตควบคู่กับลำน้ำชี เป็นชุมชนโบราณ อายุกว่า 200-150 ปี มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาเป็นไทยเขมร ใช้การรำเรือมตรด เป็นการละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่และมีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย และยังมีโบราณสถานเจดีย์หลวงตาผู้ที่สร้างวัด ตั้งแต่สมัยโบราณอันเป็นที่เลื่อมใสและศรัทธาของประชาชน ประดิษฐานอยู่ ณ วัดสกอร์ตะโมก อีกทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ คือ การนำดินจากลำน้ำชี มาทำเป็นเตาอั้งโล่ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีขนมพื้นถิ่น คือ ขนมข้าวแต๋น แสดงถึงความเป็นตัวตนของชุมชน ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความเหมือนกันทั้งด้านวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตความเป็นอยู่และเกิดการยอมรับร่วมกันของชาวชุมชนและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการดำรงชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะของชุมชน และเป็นสิ่งที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน และ 2) แนวทางในการพัฒนาและการส่งเสริมอาชีพชุมชนบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า มีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้และประสบการณ์ในการตั้งกลุ่มอาชีพ 2) ด้านการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายสินค้า และ 3) ด้านการอบรมอาชีพอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากอาชีพภายในกลุ่ม
Downloads
References
ชลันดา จำปาทอง และอธิมาตร เพิ่มพูหน. (2564). แนวทางการพัฒนาสู่การเป็นพลเมืองคุณภาพของชุมชนบ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(1) : 1-12.
ผการัตน์ พินิจวัฒน์. (2561). การส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน : กรณีศึกษาบ้านโพนไทร ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(3) : 925-935.
พายุ นาวะคูระ. (2021). แนวทางการพัฒนาอาชีพสำหรับผู้สูงอายุของบ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่ออำเภอเมืองอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2541). การพัฒนาชุมชนแบบจัดการ. กรุงเทพฯ : เอมีเทรดดิ้ง
สิริกานต์ ทองพูน และคณะ. (2563). อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านลานคา จังหวัดสุพรรณบุรี. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. 948-953. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Chidchim, S., Phattharakitsophon S. and Khaophongampai, S. (2014). The development of Nakhoncchaisi watershed culturaltourism model. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences. 15(2) : 125-132. [In Thai]
Hitchcock, H. R. , & Johnson, P. (1997). The international style. USA: WW Norton & Company.
McIntosh, R. W. & Charles R. Goeldner. (2009). Tourism principle, practices and philosophies (11th ed.). New Jersey: John Wiley & Sons.
Srijamorn, P. (2006). Public Participation in Forest Reforestation in the Public Sector: A Case Study of Pa Noi Au Don Chai, Muang District, Chiang Rai Province. Master’s degree thesis National Institute of Development Administration. [In Thai]
Thebhattee, S. et al. (2008). Self-Sufficiency with Sufficiency Economy Philosophy. Bangkok: National Office of Buddhism Printing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 พัทธพล สุขบรรณ, รวีวรรณ ตามสันเทียะ, จักรพันธ์ เสาร์ทอง, อธิมาตร เพิ่มพูน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.