การประเมินโครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ข้อมูลชุมชนเพื่อพัฒนา การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.11คำสำคัญ:
การประเมินโครงการ, ข้อมูลชุมชน, การศึกษานอกระบบ, การศึกษาตามอัธยาศัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ข้อมูลชุมชนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการของเคิร์กแพททริค (Kirkpatrick) เพื่อประเมินโครงการเกี่ยวกับ 1) ประเมินด้านปฏิกิริยา (Reaction Evaluation) 2) ประเมินด้านการเรียนรู้ (Learning Evaluation) 3) ประเมินด้านพฤติกรรม (Behavior Evaluation) 4) ประเมินด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับองค์กร (Result Evaluation) โดยใช้กลุ่มผู้ผ่านการอบรมเป็นกลุ่มประชากรเก็บข้อมูลในการศึกษา จำนวน 42 คน เครื่องมือใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นการติดตามผลหลังการอบรมแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (m) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความคิดเห็นต่อการประเมินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก (m = 4.41; s = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความคิดเห็นต่อการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ ดังนี้ ด้านการเรียนรู้ (m = 4.45; s = 0.53) ด้านปฏิกิริยา (m = 4.45; s = 0.54) ด้านพฤติกรรม (m = 4.41; s = 0.54) ด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับองค์กร (m = 4.33; s = 0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
Downloads
References
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ. (2562). วิถีชุมชน คู่มือการเรียนรู้ที่ทำงานชุมชนง่าย ได้ผลและสนุก. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี : สำนักพิมพ์สุขศาลา.
ณัฐญาพร เสวตานนท์. (2565). การประเมินโครงการอบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนสตรีพังงา. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(2) : 15-32.
บุญชม ศรีสะอาด. (2539). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารวัดผลการศึกษา. 2(1) : 64-70.
พิสณุ ฟองศรี. (2556). เทคนิควิธีประเมินโครงการฝึกอบรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
พัชรินทร์ ศิริสุข. (2563). การประเมินผลโครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดใหม่ช่องลม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์. 1(3) : 109 – 119.
พัชรินทร์ ศิริสุข. (2564). การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณภาพโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารราชพฤกษ์. 19(2) : 82 – 91.
วิเศษ ปิ่นพิทักษ์. (2565). การประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีสำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ การประเมินของ โดนัลด์ แอล เคิร์กแพททริก. วารสารครุศาสตร์ปัญญา. 4(4) : 47-57.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). การประเมินโครงการ : หลักการและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : หจก สามลดา.
สำนักงาน กศน. (ม.ป.ป). เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. : คัมภีร์ กศน. กรุงเทพฯ : เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York : Harper Collins.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 ธวัชชัย สุนทรสวัสดิ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.