ผลการใช้ชุดกิจกรรม รายวิชาการงานอาชีพ (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ชัยนะรินทร์ ทับมะเริง Surindra Rajabhat University
  • ชนกเนตร ชัยวิชา
  • เพ็ญนภา จารัตน์
  • จักริน สายรัตน์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.1

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, รายวิชาการงานอาชีพ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรม ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1/2565 ของโรงเรียนในตำบลราม จำนวน 7 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีรามประชาสรรค์ จำนวนนักเรียน 22 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า    t-test ค่า E1/E2 และ E.I. ผลวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.15/83.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมมีค่าเท่ากับ 0.5528 ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าร้อยละ 55.28 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551).แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

คอยรุนนิซาอ์ มะ. (2563).รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการประดิษฐ์สร้างสรรค์งานกระดาษ เรื่อง การประดิษฐ์สร้างสรรค์งาน กระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :http://www.pattani1.go.th/.สืบค้น29 มกราคม 2565.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์,บุญเลิศ ส่องสว่างและวาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2553). “สามัญทัศน์เทคโนโลยีและสื่อสารการสอน”ในเอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณเอก อึ้งเสือ. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง งานประดิษฐ์ใบตอง สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เยาวลักษณ์ ชื่นอารมณ์.(2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยชุดกิจกรรมวัฎจักรการเรียน 5E.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โรงเรียนศรีรามประชาสรรค์. (2564).รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: Sar).ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาสน์.

สมคิด สิงห์จารย. (2556). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์เรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อนุสสรา เฉลิมศรี.(2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม).กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-02-2023

How to Cite

ทับมะเริง ช., ชัยวิชา ช., จารัตน์ เ., & สายรัตน์ จ. (2023). ผลการใช้ชุดกิจกรรม รายวิชาการงานอาชีพ (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(1), 1–14. https://doi.org/10.14456/jasrru.2023.1