การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • นูรอา สะมะแอ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • ฟารีดา กิตติวิโรจน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.23

คำสำคัญ:

ปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษ, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, สัทศาสตร์, สรศาสตร์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษและปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 11-054-219 สัทศาสตร์และสรศาสตร์เบื้องต้น            ปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกเสียงภาษาอังกฤษ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง

         ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาส       ราชนครินทร์ มีปัญหาการออกเสียงระดับหน่วยเสียงแยกส่วนอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =2.89,       S.D. =0.98) โดยหน่วยเสียงที่พบปัญหามากที่สุด คือหน่วยเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ระดับหน่วยเหนือเสียงแยกส่วนอยู่ในระดับมาก (x̄ =3.58, S.D. =0.91) โดยหน่วยเสียงที่พบปัญหามากที่สุด คือ             การลงเสียงหนักในระดับคำ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการออกเสียงมากที่สุดคือ อิทธิพลของภาษาแม่ ภูมิหลังความรู้การออกเสียงภาษาอังกฤษ วิธีการสอนการออกเสียงของผู้สอน ความสามารถทางด้านสัทศาสตร์ และทัศนคติและแรงจูงใจในการออกเสียงภาษาอังกฤษตามลำดับ จากผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถเป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษของผู้เรียนและเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยําสําส์น.

ปิยะวดี อภิชาตบุตร. (2011). ปัญหาและแนวทางแก้ไขเสียงพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนคนไทยตามแนวสรีรสัทศาสตร์. วารสารดำรงวิชาการ. 10(2) : 1-22.

นันทนา รณเกียรติ. (2563). สัทศาสตร์เพื่อการสอนการออกเสียงภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยูเนียนสาสมีต้า สาเมาะ และสุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2564). ความซับซ้อนของการใช้ภาษาและอักษรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 40(1) : 167-190.

รุสลาน สาแม และเปรมินทร์ คาระวี. (2558). พฤติกรรมการออกเสียงพยางค์หนัก-เบา ในคําภาษาอังกฤษจากผลของการสอนแบบฟัง-พูด ร่วมกับการสอนความรู้ทางสัทศาสตร์:การศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศิริราษฎร์สามัคคี อําเภอมายอจังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 26(1) : 85-99.

อดิศา เบญจรัตนานนท์. (2558). โครงการการออกเสียงสูงต่ำในภาษาอังกฤษ : ผลสัมฤทธิ์ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(1) : 133-172.

Brown, H. D. (1987). Principles of Language Learning and Teaching. 2nd ed. NJ : Prentice Hall.

Celce-Murcia, M., Brinton, D., Goodwin, J., M. (2014). Teaching Pronunciation: A Course Book and Reference Guide. 4th ed. Cambridge: Cambridge University Press.

Creswell, J. (2011). Educational research: Planning, conducting, and evaluating Quantitative and Qualitative research. Pearson: Merrill Prentice Hall.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Test. 5th ed. Harper Collins

Gilakjani, A., P. (2012). A Study of Factors Affecting EFL Learners' English Pronunciation Learning and the Strategies for Instruction. International Journal of Humanities and Social Science. 2(3) : 119-128.

Harmer, J. (2001). The Practice of English Language Teaching. Pearson: Longman. Hoque, M., A. (2011). Problems of Pronunciation for the Chittagonian Learners of English: A Case Study. Journal of Education and Practice. 2(6) : 1-7.

James, R. B. (2010). Teaching Pronunciation Gets a Bad R.A.P: A Framework for Teaching Pronunciation. Hankuk: University of Foreign Studies.

Kenworthy, J. (1987). Teaching English Pronunciation. Longman: Harlow.

Ladefoged, P., & Johnson, K. (2011). A course in phonetics. 6th ed. MA: Wadsworth.

Paramal, N. (2019). The phonological Interference of Patani Malay and Thai in English on Grade 4 Students Who Speak Patani Malay as Mother Tongue. Journal of Language and Culture. 38(2) : 154-177.

Piyamat, B. & Deekawong, K. (2021). Phonological Variations and Problems in English Pronunciation among Thai EFL Learners: A Case Study of Undergraduate Students at Huachiew Chalermprakiet University. Journal of Liberal Arts Review. 11(4) : 67-84.

Plailek, T. & Essien, M. A. (2021) Pronunciation Problems and Factors Affecting English Pronunciation of EFL Students. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education. 12(12) : 2026-2033.

Premsirat, S. & Burarungrot, M. (2021). Multilingualism, Bi/Multilingual Education and Social Inclusion: A Case Study in Southern Thailand. Manusaya: ournal of Humanities. 24 : 373–389.

Roka, M. et al. (2019). An Investigation of Thai Students’ Attitudes in Relation to Pronunciation of English as a Second Language. Proceeding of The National University of Singapore Society (NUSS) The Graduate Club. pp. 15-16. Suntec City Guild.

Sahatsathatsana, S. (2017). Pronunciation Problems of Thai Students Learning English Phonetics: A Case Study at Kalasin University. Journal of Education. Journal of Education, Mahasarakham University. 11(4) : 67-84.

Suwanaroa, S., Polerk, S., & Tabula, R. V. (2020). An Investigation of Factors Causing English Mispronunciation of Students in English for International Communication. International Journal of Linguistics, Literature and Translation (IJLLT). 3(11) : 194-205.

Winitkul, D., & Ulla, M.B. (2017). Teaching English Pronunciation among Thai Engineering EFL Learners: Perceptions, Problems and Solutions. Nakorn Si Thammarat: King Mongkut’s University’s of Technology, Bangkok:, & Walailak University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-08-2024

How to Cite

สะมะแอ น., & กิตติวิโรจน์ ฟ. (2024). การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(4), 17–36. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.23