การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
DOI:
https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.27คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียน, ผลสัมฤทธิ์, สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังเรียน เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 3) เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน
ผลวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการเรียนรู้ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีประสิทธิ์ภาพเท่ากับ 75.50/76.61 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านพบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน พบว่า ด้านการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 82.54 รองลงมาคือด้านแบบรูปและความสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 81.43 ด้าน โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คิดเป็นร้อยละ 80.00 ด้านสมบัติการเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 71.43 และนิพจน์ของพีชคณิต คิดเป็นร้อยละ 60.95 ตามลำดับ
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เขมิกา เขมาระกุล, สายพิน สีหรักษ์, สุกัญญา บุญศรี และวัชราภรณ์ เขื่อนวัง. (2566). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ.วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 7(3) : 47-63.
นิธิ ดำรงชยกุล, สุณิสา สุมิรัตนะ. (2566). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความมีวินัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านภายใต้แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 10(3) : 321-335.
พิชญ์สินี เพรชดี, รุ่งระวี ด่อนสิงหะ และสุภาณี เส็งศรี. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม โดยการใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและนวัตกรรม (สถาบันอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร). 5(1) : 203-219.
วิญญ์ธชัย ศักดิ์กัณฑ์หา. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวแบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง. 12(1) : 73-84.
ชนิสรา เมธภัทรหิรัญ. (15 กุมภาพันธ์ 2565). ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กับการสอนคณิตศาสตร์. คลังความรู้ SciMath.
สุนทรีย์ วงศานาม. (2560). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเส้นตรงโดยใช้ The Geometer’s Sketchpad เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนรู้.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(1) : 203-216.
สุรชัย สุขรี. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา(คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). 4(11) : 68-85.
สุรัชนา ช้างชายวงค์ และธงชัย อรัญชัย. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้แอปพิเคชันงานชั้นเรียน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). 5(15) : 23-35.
สุวรรณา สืบกลั่น. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน โดยใช้วิธีการการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเกม ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคงทองวิทยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาคณิตศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อาริสา ยศจำรัส และสิทธิพล อาจอินทร์. (2566). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid Learning) โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสาร Journal of Roi Kaensarn Academi. 8(5) : 528-547.
Polya, G. (1957). How to solve it. Princeton, NJ: Princeton University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.