การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI ร่วมกับโปรแกรม GeoGabra

ผู้แต่ง

  • ชนม์นิภา ดลกุล คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • สมใจ ภูครองทุ่ง คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปวีณา ราวะรินทร์ ครูโรงเรียนคำม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 24

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.19

คำสำคัญ:

เทคนิค TAI, โปรแกรม GeoGabra, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับโปรแกรม GeoGabra เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 70/70 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับโปรแกรม GeoGabra และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับโปรแกรม GeoGabra เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ได้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำม่วง  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (3.1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับโปรแกรม GeoGabra (3.2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3.3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Sample)

         ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับโปรแกรม GeoGabra มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 74.93/77.29 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับโปรแกรม GeoGabra หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ          (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับโปรแกรม GeoGabra โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.49, S.D.=0.64)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรง พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เต็มเดือน เต้าแก้ว, นภาภรณ์ ธัญญา และเดชกุล มัทวานุกูล. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับกลวิธี STARที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา). วารสารภาวนาสารปริทัศน์. 1(3) : 1-14.

ประจบ แสงสีบับ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธี STAR เรื่อง โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและการแปรผันที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรุจิภา สายสุข. (2560). การพัฒนาผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ค่ากลางของ ข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร. ปริญญาวิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สมเกียรติ อินทสิงห์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับกราฟิกออแกไนซ์เซอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(1) : 356-368.

เอมฤดี สิงหะกุมพล, ไพศาล หวังพานิช และสงวนพงศ์ ชวนชม. (2563). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR รายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์. 7(1) : 73-82.

Maccini, P. & Gagnon, J. (2011). Mathematics strategy instruction (SI) for middle school students with learning disabilities. [Online]. Available : http://www.ldonline.org/ article/Mathematics_ Strategy_Instruction_%28SI%29_for_Middle_School_Students_with_Learning_Disabilities. Retrieved 18 October 2022.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024

How to Cite

ดลกุล ช., ภูครองทุ่ง ส., & ราวะรินทร์ ป. (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI ร่วมกับโปรแกรม GeoGabra. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(3), 67–82. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.19