การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวิเคราะห์โจทย์ปัญหาร่วมกับการใช้รูปแบบบาร์โมเดล

ผู้แต่ง

  • ปิยะพงษ์ พันยากิจ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ประภาพร หนองหารพิทักษ์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปวีณา ขันธ์ศิลา คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.15

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วิเคราะห์โจทย์ปัญหา, บาร์โมเดล

บทคัดย่อ

จากสภาพการเรียนการสอนในชั้นเรียนพบว่านักเรียนไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้ ไม่มีความรู้ ความเข้าใจว่าควรเริ่มต้นกระบวนการแก้ปัญหาอย่างไร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวิเคราะห์โจทย์ปัญหาร่วมกับการใช้รูปแบบบาร์โมเดล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองผ้าอ้อม อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบงมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบสมมติฐาน (t-test) ผลการวิจัยพบว่า             1) แผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ (E1/E2 ) เท่ากับ 80.42/86.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวิเคราะห์โจทย์ปัญหาร่วมกับการใช้รูปแบบบาร์โมเดล เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ดารณี โตใหญ่ และจิตราภรณ์ บุญถนอม. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกลบคูณหารเศษส่วน ด้วยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวิเคราะห์โจทย์ปัญหาร่วมกับการใช้แบบบาร์โมเดล ผ่านระบบออนไลน์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abs tractData/viewIndex/2507.ru. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566.

นภสร ยั่งยืน. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดลเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โรงเรียนบ้านหนองผ้าอ้อม สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3. (2566). งานวัดและประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กาฬสินธุ์.

ศิริลักษณ์ ใชสงคราม. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับบาร์โมเดล (Bar Model). วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2566). รายงานผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ป.6 ปีการศึกษา 2564-2565. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://niets.or.th. สืบค้น 11 ตุลาคม 2566.

Phalawae, N. (2014). Teaching for developing the mathematics problem solving skill based on the Polyaproblem solving together with bar model drawing technique for Matthayomsuksa 2 students. Master’s Thesis. Chiangrai : Chiangrai Rajabhat University. [In Thai]

Phusuwan, P. (2018). The development of mathematics learning achievement on the linear equation withone variable problem solving of Matthayomsuksa 1 students of Watsuttharam School through the use of bar technique. [Master’s Thesis. Bangkok : Ramkhanhaeng University. [In Thai]

Prempreeda, S. (2014). The development of exercise on mathematics problem solving through the use of bar model of Matthayomsuksa 3 students. Master’sThesis. Bangkok: Dhonburi Rajabhat University. [In Thai]

Sangprasert, C. (2018). The comparison of mathematics learning achievement on the application of linearequation with one variable of Matthayomsuksa 2 students through the use of problem solving of Polyatogether with bar Model drawing technique with the traditional teaching. Master’s Thesis. Bangkok : Ramkhanhaeng University. [In Thai]

Tiangtrong, P. (2019). Using Bar Model Method to Solve Algebraic Problems Word Problems Linear Equations of One Variable and System of Linear Equations of Two Variables. Mathematical Journal. 65(700) : 22–40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024

How to Cite

พันยากิจ ป., หนองหารพิทักษ์ ป. ., & ขันธ์ศิลา ป. (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวิเคราะห์โจทย์ปัญหาร่วมกับการใช้รูปแบบบาร์โมเดล. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(3), 1–16. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.15