การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค TGT

ผู้แต่ง

  • นัทธพงศ์ สิงหาราช คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วรรณพล พิมพะสาลี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.12

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติ, เทคนิค TGT

บทคัดย่อ

         การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้จดจำในเนื้อหา ทำให้นักเรียนไม่มีความสนใจในการเรียนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่เป็นไปตามเกณ์ที่โรงเรียนกำหนด เนื่องจากนักเรียนไม่มีส่วนร่วมและขาดแรงกระตุ้นในการเรียน วิธีการหนึ่งที่รู้จักกันแพร่หลายที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วม คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT ดังนั้น การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิค TGT     2) พัฒนาประสิทธิภาพแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร เศษส่วน โดยใช้เทคนิค TGT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเหล่ากลางวิทยาคม อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ (t-test)

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร  เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค TGT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ประสิทธิภาพแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.53/71.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร เศษส่วน โดยใช้เทคนิค TGT  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเจตคติ เท่ากับ 4.40

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คันธณัช พลวงค์, ปวีณา ขันธ์ศิลา และ ประภาพร หนองหารพิทักษ์. (2566). ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง เลขยกกำลัง โดยใช้เทคนิค TGT. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 2(1) : 14–25.

เฉลิม เพิ่มนาม. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนสะกดคำและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึก. ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชุติมา เจตอธิการ. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรรณิภา อนันทสุข และ พรรณราย เทียมทัน. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีจีทีร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Silpakorn Educational Research Journal. 15(1) : 231–245.

มนธิรา นรินทร์รัมย์ และนิเวศน์ คำรัตน์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีมแข่งขันร่วมกับผังมโนทัศน์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4: ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีมแข่งขันร่วมกับผังมโนทัศน์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL. 17(3) : 201–214.

รวีพร ช้างอินทร์, สุกัลยา สุเฌอ และสิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU. 9(3) : 132–145.

ศิริพร พุ่มพวง และนันทพร ชื่นสุพันธรัตน์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 5(2) : 1-11.

สารสิน เล็กเจริญ. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT กับการสอนแบบปกติ. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุพิชญา สาขะจันทร์, มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุล และนิภาพร ชุติมันต์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับสื่อ eDLTVเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University. 19(3) : 157–166.

อดิวัฒน์ เรือนรื่น. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเค็ด โดยใช้วิธีการสอนแบบ TGT. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัจฉราพรรณ พลเยี่ยมแสน. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ด้วยเทคนิคการคูณแบบอินเดียโดยใช้ตารางร่วมกับเทคนิค Team Games Tournament (TGT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนตรัง. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อําภา บริบูรณ์. (2561). การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และทีมแข่งขัน (TGT) ที่เสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เจตคติ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 3(5) : 107–131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-04-2024

How to Cite

สิงหาราช น., & พิมพะสาลี ว. (2024). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค TGT. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(2), 67–82. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.12