การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การบวก และการลบเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบการใช้เกมบิงโก

ผู้แต่ง

  • ศศิพิมพ์ รัตราช คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • สมใจ ภูครองทุ่ง คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • สุภาภรณ์ โรยรส ครูโรงเรียนบ้านนาไร่เดียว สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

DOI:

https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.8

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, การบวกและการลบเศษส่วน, การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI, เกมบิงโก

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การบวก และการลบเศษส่วน ก่อนและหลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบการใช้เกมบิงโก 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบการใช้เกมบิงโก เรื่อง การบวก และการลบเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาจากการใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบการใช้เกมบิงโก 2) แบบทดสอบ เรื่อง การบวก และการลบเศษส่วน โดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบการใช้เกมบิงโก โดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก และการลบเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  หลังการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบการใช้เกมบิงโก สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบการใช้เกมบิงโก อย่างมีนัยสําคัญที่ .05 2) ความพึงพอใจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบการใช้เกมบิงโก อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชนิสรา อริยะเดชช์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAIกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยมleหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.

ธเรศ คำหิราช และชนกกานต์ สหัสทัศน์. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 1(2) : 186-195.

ศิตรานุช ภูมิประกาย, ธนาดล สมบูรณ์ และวีระ วงศ์สรรค์. (2565). การพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบการใช้เกมบิงโก (Bingo Game) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4. Mahamakut Graduate School Journal. 20(2) : 214-228.

สุรีพร ศิรินามมนตรี. (2011). ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ; The Learning Outcomes of Mathematics Subject Group on Non-Equation for 9th Grade Education, Using the Collaborative Learning Method. Rajabhat Maha Sarakham University Journal. 5(1) : 131-139.

อัจจิมา บรรพต, กฤษณะ โสขุมา และเดชบุญ ประจักษ์. (2565). การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กับการสอนแบบปกติ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 16(2) : 109-118.

Slavin. (1990). Cooperative Learning Models for the 3 R'S. Journal of Educational leadership. 47(4) : 22-28.

Siregar,I.I., & Slamet, I. (2018). Team Assisted Individualization (TAI) in Mathematics Learning Viewed from Multiple Intelligences. Journal of Physics: Conference Series. 1108(2018)012073 : 1-6; doi :10.1088/1742-6596/1108/1/012073.

Tristanti,L. B., & Hidayati, W. S. (2020). The Implementation of Cooperative Learning Type Team Assisted Individualisation for Teaching 3D Geometry. Journal of Education and Learning (EduLearn). 14(2) : 279-288.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-04-2024

How to Cite

รัตราช ศ., ภูครองทุ่ง ส. ., & โรยรส ส. (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การบวก และการลบเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ประกอบการใช้เกมบิงโก. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(2), 1–12. https://doi.org/10.14456/jasrru.2024.8