มหาวิทยาลัยระดับโลก : มุมมองการบริหาร

ผู้แต่ง

  • ปรีชา จรุงกิจอนันต์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

มหาวิทยาลัยระดับโลก, การบริหารสถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกไม่เพียงแต่เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาคมโลก แต่ยังเป็นเรื่องของการแข่งขันเชิงการสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกาและยุโรปที่มีจำนวนนักศึกษาต่างชาติเป็นจำนวนมาก โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อปีการศึกษา สัดส่วนของจำนวนนักศึกษาต่อจำนวนอาจารย์และเจ้าหน้าที่ รายได้จากการทำวิจัยต่อปีการศึกษา สัดส่วนของผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์จากผลงานวิจัยที่มีผู้ร่วม และที่สำคัญคือสัดส่วนนักศึกษาต่างชาติต่อนักศึกษาทั้งหมด ทั้งนี้มีข้อพึงระวังคือ การดำรงไว้ซึ่งภารกิจ ค่านิยม และเจตนารมณ์ในการสร้างมหาวิทยาลัยระดับโลกที่จะไม่หลงทางไปในทิศทางอื่น รวมถึงแผนการรักษาระดับคุณภาพการศึกษาและการได้มาซึ่งผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนระบบสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ

References

Altbach (2003). “The Costs and Benefits of The World-Class University,” International Higher Education, 33, PP.5-8

Levin, H, M., Teong D.W. and Ou D. (2006) “What is the World Class University, Paper Prepared for the Presentation at the 2006 Conference on the Comparative and International Education Society”, Honolulu, Hawaii, 16 March 2006.

Salmi, J. (2009). “The Establishing of The World-Class Universities,” Washington, D.C. The World Bank.

Times Higher Education World University Rankings 11th Annual Edition (2014-2015)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-09

How to Cite

จรุงกิจอนันต์ ป. . (2024). มหาวิทยาลัยระดับโลก : มุมมองการบริหาร. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า, (22), 87–95. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/NIDABJ/article/view/999