ผลตอบแทนและความต่อเนื่องของผลตอบแทนจากการลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายเชิงรุกและกองทุนรวมหุ้นไทย เพื่อการเลี้ยงชีพที่มีนโยบายเชิงรุก

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว, กองทุนรวมหุ้นไทยเพื่อการเลี้ยงชีพ, ผลตอบแทนของกองทุน, ความต่อเนื่องของผลตอบแทน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาผลตอบแทนและความต่อเนื่องของผลตอบแทนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่มีนโยบายเชิงรุกจำนวน 48 กองและกองทุนรวมหุ้นไทยเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่มีนโยบายเชิงรุกจำนวน 26 กอง ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2560 (2002-2017) ผลตอบแทนรวมสุทธิ (รวมปันผลและหลังหักค่าใช้จ่าย) เฉลี่ยของทั้งกองทุน LTF และกองทุน RMF ที่ทำการศึกษาต่ำกว่าผลตอบแทนรวม (Total Return) เฉลี่ยของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) อยู่ที่ประมาณ 2%-3% ต่อปี ส่วนผลตอบแทนแบบปรับค่าความเสี่ยงโดย Capital Asset Pricing Model (CAPM) หรือค่าอัลฟ่าเฉลี่ยของกองทุน LTF อยู่ที่ -1.28% ต่อปี และของกองทุน RMF อยู่ที่ -0.34% ต่อปี จากกองทุน LTF ทั้งหมด 48 กอง มี 12 กองที่มีค่าอัลฟ่าเป็นบวก แต่ไม่มีกองใดที่มีค่าอัลฟ่าเป็นบวก
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกองทุน RMF ทั้งหมด 26 กอง มี 10 กองที่มีค่าอัลฟ่าเป็นบวก และมี 1 กองที่มีค่าอัลฟ่าเป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการทดสอบความต่อเนื่องของผลตอบแทนของกองทุน LTF และ RMF เหล่านี้ ผลการศึกษาพบว่า ผลตอบแทนของทั้งกองทุน LTF และ RMF นั้นมีความต่อเนื่องไปในอนาคตแบบไม่ชัดเจนโดยกลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวม LTF หรือ RMF ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ยที่ชนะผลตอบแทนรวมเฉลี่ยของตลาดได้ในอีก 3 ปีข้างหน้าได้ในบางช่วงเวลา และกองทุนที่เคยทำผลงานติด 5 หรือ 20 อันดับแรกในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กลับมีจำนวนไม่มากที่สามารถรักษาอันดับที่ดีต่อเนื่องไปอีก 3 ปีข้างหน้าได้ ดังนั้น กลยุทธ์ที่ซื้อกองทุน LTF หรือ RMF ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่ผ่านมา จึงไม่สามารถชี้วัดได้อย่างชัดเจนถึงผลตอบแทนที่ดีในอนาคตของกองทุนเหล่านี้ได้

References

สรศาสตร์ สุขเจริญสิน และ ปริยดา สุขเจริญสิน. 2556. ความสม่ำเสมอของผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตราสารทุนในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 หน้า 101-132.

ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์. 2560. ผลการดำเนินงานและความต่อเนื่องของผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตราสารทุนในประเทศไทยในช่วง 1995-2014. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ ปีที่ 39 ฉบับ 152 หน้า 57-89.

Allen, D.E. and M.L. Tan. (1999). “A Test of the Persistence in the Performance of UK Managed Funds.” Journal of Business Finance and Accounting 25:559-593.

Blake, D. and Timmerman, A. (1998). ‘Mutual Fund Performance: Evidence for the UK’, European Finance Review. Vol. 2, No. 1, pp. 57-77.

Carhart, M.M. (1997). “On Persistence in Mutual Fund Performance.” Journal of Finance 52:57-82.

Elton, E.J., M.J. Gruber, S. Das, and M. Hlavka. (1993). “Efficiency with Costly Information: A Reinterpretation of Evidence from Managed Portfolios.” Review of Financial Studies 6:1-21.

Fletcher, J. and D. Forbes. (2002). “An Exploration of the Persistence of UK Unit Trusts Performance.” Journal of Empirical Finance 9:475-493.

Ippolito, R.A. (1989).“Efficiency with Costly Information: A Study of Mutual Fund Performance 1965-1984.” Quarterly Journal of Economics 104:1:1-23.

Malkiel, B. G., (1995). Return from investing in equity mutual funds 1971 to 1991, Journal of Finance 50, 549-572.

ภาพที่ 1B แสดงจำนวนและขนาดของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของกองทุนรวม LTF ตั้งแต่พฤศจิกายน 2004 ถึงกุมภาพันธ์ 2017

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-09

How to Cite

เจนวิทยาโรจน์ ณ. . (2024). ผลตอบแทนและความต่อเนื่องของผลตอบแทนจากการลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายเชิงรุกและกองทุนรวมหุ้นไทย เพื่อการเลี้ยงชีพที่มีนโยบายเชิงรุก. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า, (22), 61–86. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/NIDABJ/article/view/997