การสำรวจการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยและผลกระทบต่องบการเงิน
คำสำคัญ:
การลดทุน, การลดมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น (Par), การลดจำนวนหุ้น, ผลขาดทุนสะสม, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET), ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI)บทคัดย่อ
การสำรวจการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) ตั้งแต่พ.ศ.2544 จนถึงพ.ศ.2561 ผลการศึกษาพบว่า มีบริษัทจดทะเบียนดำเนินการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมรวม 77 บริษัท โดยจำแนกรูปแบบการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ การลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมด้วยการลดมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น (Par) เพียงอย่างเดียว 81.82% การลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมด้วยการลดจำนวนหุ้นเพียงอย่างเดียว 9.09% และการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมด้วยการลดมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น (Par) ผสมกับการลดจำนวนหุ้น 9.09%
ผลในทางปฏิบัติภายหลังการดำเนินการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ 81.82% ยังคงมีขาดทุนสะสมคงเหลือปรากฎอยู่ในงบการเงิน โดยขาดทุนสะสมคงเหลือเฉลี่ยประมาณ 26.44% ของผลขาดทุนสะสมในงวดงบการเงินที่คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม อย่างไรก็ตาม การใช้พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2544 ช่วยลดขาดทุนสะสมให้เป็นศูนย์ หรือได้บางส่วน แต่ไม่ได้เกิดจากผลการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทเป็นเพียงวิธีการทางบัญชีเท่านั้น เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยให้บริษัทจดทะเบียนผ่านพ้นวิกฤตในการแก้ปัญหาธุรกิจอีกทางหนึ่ง
ผลการสำรวจในภาพรวมบริษัทจดทะเบียนมีอัตราส่วนทางการเงินปรับตัวดีขึ้น ภายหลังการดำเนินการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม 1 ปี โดยอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity; D/E) ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets; ROA) และกำไรต่อหุ้น (Earnings per Share; EPS) ของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ผลการสำรวจพบว่า ในทางปฎิบัติภายหลังการดำเนินการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม 1 ปี บริษัทจดทะเบียนเพียง 27.40% มีการจ่ายเงินปันผลในงวดงบการเงินดังกล่าว
References
Alderson, M., J., and Betker, B., L., (1999). “Assessing Post-Bankruptcy Performance: An Analysis of Reorganized Firms' Cash Flows” Financial Management 28(2): 68-82.
Burleson, H., (1953). “Quasi-Reorganizations” The Accounting Review 28(1): 12-16.
Kohler, E., L., (1939). “Quasi Reorganizations” The Accounting Review 14(4): 456.
Miller, H., E., (1948). “Quasi-Reorganizations in Reverse” The Accounting Review 23(2): 154-157.
Suwangerd, R., (2006). The Market Reaction of Accounting Method Annoncement on Reduction of Capital in Conjunction with the Increase in Retained Earnings: An Empirical Study in the Stock Exchange of Thailand (Unpublished Master’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.