การศึกษามุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ต่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
คำสำคัญ:
พฤติกรรมความซื่อสัตย์ , การตัดสินใจเชิงจริยธรรม, การอบรมด้านจริยธรรมบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิต่อผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์และพฤติกรรมความซื่อสัตย์ตามแนวคิดของแกรี่ เบคเกอร์ และแดน อาเรียลี่ โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา จำนวน 393 คน ในประเทศไทย และใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ Chi-square เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม โดยพบว่าในสถานการณ์ให้ทำลายกระดาษคำตอบเพื่อที่ไม่มีความเสี่ยงว่าจะถูกจับได้ มีผู้รายงานว่าจำนวนข้อสอบที่ทำได้ถูกต้องเกินกว่าร้อยละ 50 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มตัวแปรที่มีอายุ 21-30 ปี กลุ่มตัวแปรที่มีระดับการรับรู้ความซื่อสัตย์ของตัวเองในระดับปานกลาง กลุ่มตัวแปรที่รับรู้ความซื่อสัตย์ของตัวเองใกล้เคียงกับคนอื่น และกลุ่มตัวแปรที่มีแนวโน้มมุ่งผลลัพธ์ และการวิจัยยังพบว่าเมื่อผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้ส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนข้อสอบที่ทำได้ถูกต้อง และเมื่อทำการวิเคราะห์การถดถอยของตัวแปรประเภทหมวดหมู่ด้วยวิธี Categorical Regression ไม่พบความสามารถในการพยากรณ์ของตัวแปรต้นต่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ทั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการศึกษาเพิ่มเติมด้วยการขยายการสำรวจไปยังตัวแปรประชาการที่มีความหลากหลายเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรมเมื่อมีอิทธิพลการรับรู้ทางเศรษฐศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงข้อสังเกตของการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการบังคับใช้ของกฏหมายเพื่อเพิ่มการรับรู้ถึงความเสี่ยงที่จะถูกจับได้เมื่อเกิดการทำผิด ซึ่งน่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการเพิ่มแต่บทลงโทษที่อาจไม่ได้มีการปฏิบัติจริง
References
Ariely, D. (2013). The Honest Truth about Dishonesty: How We Lie to Everyone--Especially Ourselves. London: Harper Collins Publishers.
Becker, G. (1974). Essays in the Economics of Crime and Punishment: Crime and punishment: An Economic Approach. The National Bureau of Economic Research.
Ferrel, O.C., Fraedrich, J, and Ferrel, L. (2019). Business Ethics: Ethical decision making and cases. 12th Edition. Boston: Cengage Learning, Inc.
Middleton, K. (September 8, 2016). Ethics Explainer: The Sunlight Test. Retrieved from https://ethics.org.au/ethics-explainer-the-sunlight-test/
Ohrner, F. (2022). Risks of getting caught and its impact on residential burglaries. Retrieved from https://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:1740093/FULLTEXT01.pdf
SMORC. Retrieved from http://www.scienceofpeople.com/2015/03/the-science-of-lying/

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.