การสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อยกระดับรายได้ของธุรกิจอัญมณี และเครื่องประดับจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชรี ปรีเปรมโมทย์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
  • พิมพ์ทอง ทองนพคุณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วรชัย รวบรวมเลิศ คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุร
  • ดาวรรณ หมัดหล คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุร
  • อลงกรณ์ ประมวญทรัพย์ คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
  • ปาริฉัตร เต็งสุวรรณ คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

คำสำคัญ:

การสร้างมูลค่าเพิ่ม, การยกระดับรายได้, ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โซ่อุปทาน ปัญหา และข้อจำกัดที่เกิดขึ้นของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ในจังหวัดจันทบุรี และประเมินผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจจากการยกระดับการออกแบบการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ จากการเก็บข้อมูลชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมปลายน้ำเป็นส่วนที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากที่สุด โดยการออกแบบและพัฒนา ผลิตภัณฑ์เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในส่วนของการยกระดับการออกแบบการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ มีผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ ช่างฝีมือแรงงาน และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจ จำนวน 21 ราย ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมสมัยรูปแบบใหม่เป็นชุดเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์ ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย และคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของจังหวัดจันทบุรี จำนวน 21 ชุด เมื่อประเมินผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจจากการยกระดับการออกแบบการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ พบว่า ผู้ประกอบการร้อยละ 76.19 เห็นว่าโครงการนี้จะช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งบรรลุ ตามเป้าหมายของโครงการ นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับรายได้ให้กับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับของจังหวัด จันทบุร

References

Boonpitak, S., Junwiang, W. & Chamsom, S. (2014). “The Study System’s Logistics Value Stream Supply Chain of Gems and Jewelry in Chanthaburi”. Rambhai Barni Rajabhat University.

Chaiwongroj, M. (2003). “How well do you know Supply Chain?”. Productivity World. 8(44): 25-30. Burapha University.

Jaisuda, T., Panthupakorn, P. & Podjanapimol, P. (2019). Chanthaburi’s Identity Jewelry: Studying the Identity to Develop Patterns Jewelry in Commercial. The Journal of Social Communication Innovation, 7(13): 178-193.

Jaisuda, T. & Srisukho. P. (2016). “Value-added Creation of Low-Quality Gemstones with the Use of Gemstone Design”. Rambhai Barni Rajabhat University.

Jittrapanun, T. et al. (2010). “An Industrial Data Based Development Project to Increase Capability of Gems and Jewelry”. Chulalongkorn University.

Molsawa, T. & Roubroumlert, W. (2017). “Creative Thinking and the Implementation for Business Development of the Gemstone and Jewelry Community Enterprise of Kanchanburi”. The Gem and Jewelry Institute of Thailand.

Podjanapimol, P. (2019). The Study on Jewelry Design Trend in the 21st Century to Create Value Added for Raw Stone by the Design Process. The Journal of Social Communication Innovation, 7(14): 180-193.

Puataweepong, P. (2008). “Delivery Performance Improvement in Supply Chain of Jewelry Industry”. King Mongkut’s University of Technology Thonburi.

Roubroumlert, W., Thongnoppakun, P., Madlee, D., Pamounsub, A., Thisupakorn, A. & Chindudsadeegul, P.(2019). “Product Development of Creative Unique Jewelry from Gems Scraps and Low-Grade Gemstones for Value-added and Creative Economy Contribution”. Research for Community, National Research Council of Thailand.

Suharitdamrong, W. (2003). Supply Chain Management. Bangkok: Pearson Education Indochina Limited.

Thailand Textile Institute. (n.d.). “Gems and Jewelry Business Awakening to Respond to Sustainable Development”. Retrieved November 25, 2021, from https://www.thaitextile.org/th/insign/detail. 2346.1.0.html

The Gem and Jewelry Institute of Thailand. (2020). “Opportunities after Crisis...High-End and Low-End Jewelry Markets”. Retrieved November 20, 2021, from https://infocenter.git.or.th/Content_View.aspx?id=2761

The Gem and Jewelry Institute of Thailand. (2020). “Jewelry Design: Inspired Value Added”. Retrieved November 20, 2021, from https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.1697.1.0.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13

How to Cite

ปรีเปรมโมทย์ พ., ทองนพคุณ . พ., รวบรวมเลิศ ว., หมัดหล ด., ประมวญทรัพย์ อ., & เต็งสุวรรณ ป. (2022). การสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อยกระดับรายได้ของธุรกิจอัญมณี และเครื่องประดับจังหวัดจันทบุรี. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า, (30), 123–141. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/NIDABJ/article/view/72