โมเดลสมการโครงสร้างลักษณะนิสัยที่ประสบผลสำเร็จ ความกล้าหาญทางจริยธรรมที่มีต่อการบริหารความไว้วางใจ ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พรชนก ทองลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุขเกษม ลางคุลเสน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุพรรณี คำวาส คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ปริยนุช ปัญญา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • จีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • บัณฑิต บุษบา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

โมเดลสมการโครงสร้าง, ลักษณะนิสัยที่ประสบผลสำเร็จ, ความกล้าหาญทางจริยธรรม, การบริหารความไว้วางใจ, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

บทคัดย่อ

รายงานของผู้สอบบัญชีเป็นสิ่งที่ได้จากกระบวนการสอบบัญชี ผู้ลงทุนและผู้ใช้งบการเงินมีความต้องการให้รายงาน ของผู้สอบบัญชีให้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องมากขึ้น การพัฒนารายงานของผู้สอบบัญชีเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้วิชาชีพการสอบบัญชี มีความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งการเน้นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินจะต้องอาศัยข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่มี ประสิทธิภาพ ภายใต้ความเชื่อมั่นในการบริหารความไว้วางใจของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีฐานมาจากจริยธรรมวิชาชีพและ ความสำเร็จของงาน ดังนั้นการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ ประการแรก เพื่อตรวจสอบโมเดลสมการโครงสร้างลักษณะ นิสัยที่ประสบผลสำเร็จ ความกล้าหาญทางจริยธรรมที่มีต่อการบริหารความไว้วางใจ ประการที่ 2 เพื่อศึกษาโครงสร้างความ สัมพันธ์ของลักษณะนิสัยที่ประสบผลสำเร็จ ความกล้าหาญทางจริยธรรมที่มีต่อการบริหารความไว้วางใจของผู้สอบบัญชี รับอนุญาต โดยใช้การศึกษาเชิงปริมาณในรูปของโมเดลสมการโครงสร้าง ระยะเวลาเก็บข้อมูลคือช่วงมกราคม-มิถุนายน 2559 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจำนวน 307 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่าโมเดลสมการโครงสร้าง ลักษณะนิสัยที่ประสบผลสำเร็จ ความกล้าหาญทางจริยธรรมที่มีต่อการบริหารความ ไว้วางใจของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์วัดความสอดคล้อง โดยลักษณะนิสัยที่ ประสบผลสำเร็จ (เรียงตามน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย คือ การแบ่งปันผลประโยชน์แก่ผู้อื่น การจัดลำดับความสำคัญ ของงาน มีนิสัยรู้และรู้จักเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ การเพิ่มพลังชีวิต และเป็นคนชัดเจน) ส่งผลต่อความกล้าหาญทางจริยธรรม (เรียงตามน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย คือ ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความซื่อสัตย์ ความรู้ความสามารถ การรักษา ความลับ และความเที่ยงธรรม) และยังส่งผลการบริหารความไว้วางใจ (เรียงจากมากไปน้อย คือ ความเชื่อมั่นในความสามารถ และความเชื่อถือในผู้สอบบัญชีรับอนุญาต) ขณะเดียวกันการบริหารความไว้วางใจและความกล้าหาญทางจริยธรรมล้วนมี อิทธิพลทางตรงต่อกัน โดยแรงส่งของการบริหารความไว้วางใจมีอิทธิพลต่อความกล้าหาญทางจริยธรรมมากกว่าความกล้าหาญ ทางจริยธรรมส่งไปที่การบริหารความไว้วางใจ ดังนั้นการบริหารความไว้วางใจของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทั้งด้านความเชื่อมั่นใน ความรู้ความสามารถ และความเชื่อถือจากลูกค้า ขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีอิทธิพลทางตรงสูงสุดในโมเดล สมการโครงสร้าง ดังนั้นควรมุ่งเน้นการพัฒนาผู้สอบบัญชีรับอนุญาตให้มีลักษณะนิสัยที่ประสบผลสำเร็จ รวมถึงการจะพัฒนา ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตให้เป็นคนดีที่มีความสามารถ ควรเน้นทั้งการบริหารความไว้วางใจและความกล้าหาญทางจริยธรรม ประกอบกัน

References

Arakphochong, W. & Warisomboon, L. (2018). Ethics mechanism of leadership for in and organization. RMUTT Global Business and Economics Review, 13(2), 17-34.

Shoosanuk, A. & Others. (2018). The influences of perceived value on trust, satisfaction, word of mouth and repurchase of the healthy food consumers in Bangkok. NIDA BUSINESS JOURNAL, 22, 69-113.

Collis. (2008). Views of the directors of SMEs in the UK on financial reporting requirements in a changing regulatory environment. Retrieved June 30, 2017, from http://eprints.kingston.ac.uk/5516/3/ Collis-J-5516.pdf

Covey, S.R. (1989). The Seventh habits of highly effective people. New York: Simon & Schuster.

Curtis, M. B. & Payne, E. A. (2008). Anexaminationof contextual factors and individual characteristics apeecting technology implementation decisions inauditing. International Journal of Accounting Information Systems, 9, 104-121.

Decharin, P. (2004). The new era of leader. Bangkok: Manager.

Diamantopoulos, Adamantios & Siguaw, Judy A. (2001) Introducing LISEL: A Guide for the Unitiated. London: Sage.

Federation of Accounting Professions. (2016). Certified Public Accountant. Retrieved February 12, 2016, from http://eservice.Fap.or.th/fap-registration/CPA-contract-List-php?

Government Gazette. (2010). Regulations of the Federation of Accounting Professions, Ethics of Accounting Professionals 2010, 127(19), 68, G, Special Section 127, The Government Gazette, November 3, 2010.

Hair, J.F. Jr, Anderson, R.E., Tatham, R.L., & Black, W.C. (1998). Multivariate Data Analysis, (5th Edition). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Lewis, J.D. (1999). Trusted partners: How Companies Build Mutual Trust and Win together. New York: Free Press.

Meesuprung, N. & Chummee, P. (2018). A model of spiritual leadership for auditors of audit companies in Thailand. Ph.D. in Social Sciences Journal, 7(3), September-December 2017, 189-202.

Moorman, C., Deshpande, R. & Zaltman, G. (1993), Factors Affecting Trust in Market Research Relationships, Journal of Marketing, (57), 81-101.

Morgan. & Hunt. (1994). The Commitment-Trust Theory of Relationship Marketing. Journal of Marketing, 58, 20-30.

Ndubisi Nelson Oly, (2007) “Relationship marketing and customer loyalty”, Marketing Intelligence & Planning, 25(1), 98-106, Retrieved May 15, 2016, form http://dx.doi.org/10.1108/02634500710722425.

Meesumpuch, N & Chummee, P. (2018). A model of spiritual leadership for auditors of audit companies in Thailand. Ph.D. in Social Sciences Journal, 7(3), September-December 2017, 189-202.

Phosrichan, N. (2018). The Effect of the Audit Implementation Technology Integration Competency on Audit Performance of Certified Public Accountant in Thailand. Ratchaphruek Journal, 16(2), May-August 2018, 132-137.

Pinkamphi, P & Sukwathanasinit, K. (2017). Factors affecting to the auditing quality for the tax auditor in Thailand. Economics and Business Administration Review, 13(1), 72-96.

Regulations of the Federation of Accounting Professions (Issue 13). Rules and procedures for job training Testing on the accounting profession of the applicant for a certified auditor account. The Federation of Accounting Professions Act 2004.

Regulations of the Federation of Accounting Professions (No.18). Rules and procedures for the practice of tests on accounting professions of certified auditors (1st Amendment), 2009.

Serey, T.T. (2006). Choosing a robust quality of work life. Business Forum, 27(2), 7-10.

Shaw, R. (1997). Trust in the Balance. San Francisco; Jossep-Bass.

Stern, N. (1997). Promoting an effective market economy in a changing world. Centre for Economic Performance, London School of Economics and Political Science London: UK.

Thom H., Mark A. & Gregory Pawlson, L., (2004). Measuring patients’ trust in physicians when assessing quality of care. Health Affaires, 23(4), 124-132.

Wattanawilai N & Sithiphonvanichkun, J. (2012). The potential development of thai accounting profession on economic liberalization. Executive Journal. Searched on 15 November 2015. Retrieved from http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_12/pdf/aw03.pdf

Yodbua, L & Sukwattanasinit K (2018). The Influence of audit control and professionalism of the auditor the auditors of auditor in Bangkok and vicinity area. Journal of Thonburi University, 12(28), MayAugust 2561, 342-343.

Zikmund, W. G. (2003). Business research methods. USA, South-Western: Thomson Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13

How to Cite

ทองลาด พ., ฐิติยาปราโมทย์ ณ., ลางคุลเสน ส., คำวาส ส., ปัญญา ป., พงศ์พันธุ์พัฒนะ จ., สุริยะสาร ฐ., & บุษบา บ. (2022). โมเดลสมการโครงสร้างลักษณะนิสัยที่ประสบผลสำเร็จ ความกล้าหาญทางจริยธรรมที่มีต่อการบริหารความไว้วางใจ ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า, (28), 86–104. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/NIDABJ/article/view/58