การศึกษา Monday Effect (ผลกระทบของวันทำการที่มีต่อผลตอบแทน) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ดัชนีหลักทรัพย์, ผลกระทบของวันทำการที่มีต่อผลตอบแทน, ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาปรากฏการณ์ Monday Effect (ที่พบว่าผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในวันจันทร์มักต่ำกว่าวันทำการอื่นๆของสัปดาห์) ในดัชนี SET ดัชนี SET50 ดัชนี sSET และดัชนี MAI ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Stock Exchange of Thailand หรือ SET) ในช่วงปี 1975 ถึง 2019 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สำหรับดัชนี SET ผลตอบแทนวันจันทร์โดยเฉลี่ยมีค่าติดลบและต่ำสุดเมื่อเทียบกับวันทำการอื่นๆในสัปดาห์ โดยมีค่าที่ -0.126% ต่อวัน หรือโดยเฉลี่ยแล้วผลตอบแทนของดัชนี SET ในวันจันทร์ต่ำกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของ 4 วันที่เหลือที่ 0.200% ต่อวันและมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษายังคงคล้ายกันไม่ว่าจะใช้ผลตอบแทนแบบไม่รวมหรือรวมเงินปันผลในการวิเคราะห์ และพบปรากฏการณ์ Monday Effect ในทุกดัชนีอย่างมีนัยสำคัญ (ยกเว้นดัชนี sSET) นอกจากนี้ ผลการศึกษาไม่พบว่าความเสี่ยง(ที่วัดด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลตอบแทน)ของวันจันทร์ต่ำกว่าความเสี่ยงของวันทำการอื่นๆ ดังนั้น ผลการศึกษานี้จึงปฏิเสธความมีประสิทธิภาพของตลาดหุ้นไทย และสร้างโอกาสในการทำผลตอบแทนแบบผิดปกติได้ ท้ายที่สุด หลักฐานเชิงประจักษ์ของ Monday Effect ในตลาดหุ้นไทยนั้นสอดคล้องกับผลการศึกษาปรากฏการณ์ Monday Effect ในตลาดหุ้นอื่นๆ

References

Aggarwal, R., & Rivoli, P. (1989). Seasonal and day-of-the-week effects in four emerging stock markets. Financial Review, 24, 541-550. https://doi.org/10.1111/j.1540-6288.1989.tb00359.x

Brooks, R. M., & Kim, H. (1997). The individual investor and the weekend effect. Quarterly Review of Economics and Finance, 37, 725-737. https://doi.org/10.1016/S1062-9769(97)90020-X

Chen, H., & Singal, V. (2003). Role of speculative short sales in price formation: the case of the weekend effect. Journal of Finance, 58, 685-705. https://doi.org/10.1111/1540-6261.00541

Damodaran, A. (1989). The weekend effect in information releases: a study of earnings and dividend announcements. Review of Financial Studies, 2, 607-623. https://doi.org/10.1093/rfs/2.4.607

Dyl, E. A., & Maberly, E. D. (1988). A possible explanation of the weekend effect. Financial Analysts Journal, 44, 83-84. https://doi.org/10.2469/faj.v44.n3.83

Fama, E. (1970). Efficient Capital Markets: A review of theory and empirical work. Journal of Finance, 25, 383-417. https://doi.org/10.2307/2325486

Fama, E. (1991). Efficient Capital Markets: II. Journal of Finance, 46, 1575-1617. https://doi.org/10.1111/j.1540-6261.1991.tb04636.x

French, K. (1980). Stock Returns and the Weekend Effect. Journal of Financial Economics, 8, 55-69. https://doi.org/10.1016/0304-405X(80)90021-5

Jeffrey, J., & Westerfield, R. (1985). The weekend effect in common stock returns: the international evidence. Journal of Finance, 40, 433-454. https://doi.org/10.1111/j.1540-6261.1985.tb04966.x

Khanthavit, A., & Chaowalerd, O. (2016). Revisiting the day-of-the-week effect in the Stock Exchange of Thailand. Journal of Business Administration, 39, 73-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-30

How to Cite

เจนวิทยาโรจน์ ณ. (2023). การศึกษา Monday Effect (ผลกระทบของวันทำการที่มีต่อผลตอบแทน) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า, (25), 158–172. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/NIDABJ/article/view/382