การเปรียบเทียบสมรรถนะของนักวิชาการเงินและบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลของ วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร วิทยาเขตปราจีนบุรี วิทยาเขตระยอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Main Article Content

พจนารถ เกื้อสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องศึกษาการเปรียบเทียบสมรรถนะของนักวิชาการเงินและบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลของวิทยาเขตกรุงเทพมหานคร วิทยาเขตปราจีนบุรี วิทยาเขตระยอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะในการปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล ระหว่างนักวิชาการเงินและบัญชี วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร วิทยาเขตปราจีนบุรี และ วิทยาเขตระยองของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประชากรเป็นนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามจากแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และดัดแปลงจากแบบสอบถามที่มีผู้สร้างมาแล้วเป็นแนวทางความเที่ยงของแบบสอบถามซึ่งผ่านความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและการทดลองใช้ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test ผลการศึกษาพบว่า 1) นักวิชาการเงินและบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลมีสมรรถนะในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม ซึ่งค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปน้อย พบว่า วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับดี (gif.latex?\mu = 3.63, gif.latex?\sigma= 0.524) วิทยาเขตปราจีนบุรี อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\mu = 3.23, gif.latex?\sigma = 0.876) และวิทยาเขตระยอง อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\mu = 3.20, gif.latex?\sigma = 1.098) ตามลำดับ 2) นักวิชาการเงินและบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานรายด้าน พบว่า ด้านการออกแบบการใช้งาน ด้านทักษะการคิดและวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความปลอดภัยของข้อมูล และด้านจรรยาบรรณวิชาชีพนักบัญชีไม่แตกต่างกัน  ในขณะที่ ด้านกระบวนการทำงานขององค์กร และด้านการปรับตัวในการทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักวิชาการเงินและบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล วิทยาเขตกรุงเทพมหานครมีสมรรถนะหลักเกี่ยวกับด้านกระบวนการทำงานขององค์กรดีกว่านักวิชาการเงินและบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล วิทยาเขตปราจีนบุรี และ4) นักวิชาการเงินและบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล วิทยาเขตปราจีนบุรี มีสมรรถนะส่วนบุคคลเกี่ยวกับด้านการปรับตัวในการทำงานดีกว่านักวิชาการเงินและบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร

Article Details

How to Cite
เกื้อสกุล พ. . (2024). การเปรียบเทียบสมรรถนะของนักวิชาการเงินและบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลของ วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร วิทยาเขตปราจีนบุรี วิทยาเขตระยอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 15(2). สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/FTEJournal/article/view/978
บท
Article

References

College of Industrial Technology, (2021). Self-assessment report ,academic year 2021. College of Industrial Technology. [in Thai]

Jindanil, K.& Chitsakul, C. (2023). The Essential Competencies of A Professional Accountant in the 21 Century. Journal of Management Science Research Surindra Rajabhat University, 7(2), 195-209. [in Thai]

Juntasutho, A.,Anekjumnongporn, P. & Laohavichien, T. (2023). The Component of the Competency in Thailand. Jounal of Federation of Accounting Professions, 5(1), 64-81. [in Thai]

Kammoongkoon, N.& Sukwatanasinit, K. (2023). The Competence of Accountants and Adoption of Thechnology in Applying of Accounting Affects the Efficieiency of Financial Reporting in the Eastern Region. Journal of MCU Ubon Review, 8(1), 159-169. [in Thai]

Klaisuban,N. (2019). Qualifications of accountants that are desirable for establishments in the digital age. (Research report). Pathum Thani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]

Krongmee,W. ,Yangdee,P. & Ketumrak,P. (2020). Impacts of Digital Accountant Skills for Successful Work of Accounting Firms in Chiang Mai. Journal of Business Administration Maejo University, 2(1): 67-86. [in Thai]

Phetcherdchu,P. (2023). What do you need to know before saying that you are “Accountant in the digital age”. https://ciba.dpu.ac.th/blog/2017/03/20. [in Thai]

Prapaisri,P. & Nantaphan,K. (2020). Guidelines for professional development of accounting professionals in Digital age. Mahachula Nakorn News Journal, 7(12), 422-435. [in Thai]

Rungruang,W. (2019). Assessment of student competency according to the Vocational Certificate Curriculum, B.E.2013, Retail Business Department, Dual System, Phitsanulok VocationalCollege, using the format 360-degree assessment (Master's degree, curriculum, and teaching). Naresuan University. [in Thai]

Sukphong,P. & Klaewkruea,N. (2022). Competencies of Desirable Accountant of Enterprisesin the Digital Era. Lampang Rajabhat University Journal, 11(1), 146 - 156. [in Thai]

Supanyabut,C. (2019). Development of a program to strengthen teachers' competency in active learning management (Under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office, Area 24. Education degree Master of Management and Educational development). Mahasarakham University. [in Thai]

Thummapawat,D. & Pawapootanon Namahasakham,W.(2022). Factors Affecting the efficiency of internal controls in Financial And Accounting of Government Hospitals In Mahasakham. Vocational Education Innovation and Research Journal, 6(2), 58-67. [in Thai]

Wangyen,S. (2020). Factors affecting technology acceptance. used for processing accounting information Officer case studies Federation of Thai Industries (master’s degree thesis). Dhurakij Pundit University, Bangkok. [in Thai]

Wattanasap,N. (2021). Accountants' competencies that influence artificial intelligence and efficiency in Work. Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]