Home
Submissions
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
Where available, URLs for the references have been provided.
The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
Template Download
1. นโยบายการจัดพิมพ์
วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิศวกรรมศึกษา จัดทำโดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงานวิจัยทางด้านการสอนและการบริหารอาชีวศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัลและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม การฝึกอบรมและการพัฒนากำลังคน รวมทั้งการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมศึกษา เป็นต้น วารสารเปิดรับบทความจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงภายนอกประเทศแบบเต็มรูปแบบ (Full Paper) รวมถึงบทความวิชาการ (Review Articles) บทความที่เสนอสามารถเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้ โดยจะต้องถูกต้องตามหลักการเขียนเชิงวิชาการ วารสารจะจัดพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม และอาจมีฉบับพิเศษเพิ่มเติมปีละไม่เกิน 1 ฉบับ ผู้สนใจสามารถส่งต้นฉบับได้ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้นดังเวปไซต์ด้านล่าง โดยบทความดังกล่าวจะต้องมีการลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism) ต้องไม่เกิน 30% ไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อนและเป็นข้อคิดเห็นของผู้ส่งบทความเท่านั้น
2. การส่งบทความ
2.1 การเตรียมต้นฉบับ: ผู้สนใจส่งต้นฉบับได้ทางระบบออนไลน์ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/FTEJournal เท่านั้น โดยบทความต้องมีจำนวนหน้าอยู่ระหว่าง 8 - 15 หน้า กระดาษ A4 การตั้งค่าหน้ากระดาษขอบด้านบนและด้านล่าง 3.5 ซม. ขอบด้านขวาและด้านซ้าย 2.5 ซม. พิมพ์ 1 คอลัมน์ พิมพ์ด้วยตัวอักษร “ TH SarabunPSK ” ขนาด 14 ยกเว้นบทคัดย่อ (Abstract) ให้พิมพ์ 1 คอลัมน์ 1 ย่อหน้า ภาษาไทยหนึ่งหน้า และภาษาอังกฤษหนึ่งหน้า โดยหัวข้อต่าง ๆ ในบทความใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวหนา ส่วนเนื้อหาให้ย่อหน้า 1.25 ซม. ใช้ตัวธรรมดาและพิมพ์ชิดขอบทั้งสองด้าน การลำดับหัวข้อของเนื้อเรื่อง ให้ใช้เลขกำกับ บทนำเป็นหัวข้อหมายเลข 1 หากมีหัวข้อย่อยให้ใช้เลขระบบทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย เช่น 2.1 เป็นต้น
2.2 คำแนะนำในการเรียงลำดับเนื้อหา: ให้เรียงลำดับตามหัวข้อต่อไปนี้
ชื่อเรื่อง ( Title)
ควรกระชับ ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ ชื่อเรื่องภาษาไทยหนึ่งหน้าและภาษาอังกฤษหนึ่งหน้า ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา พิมพ์กึ่งกลางหน้ากระดาษ ซึ่งอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของทุกคำให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้น คำนำหน้านาม (article) คำสันธาน (conjunction) และคำบุพบท (preposition) ที่สั้นกว่า 5 ตัวอักษรให้ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด เช่น a, an, the, in, on เป็นต้น ตัวอย่างชื่อเรื่อง (Title)
ชื่อผู้เขียน
ระบุชื่อเต็ม-นามสกุลเต็ม ของชื่อผู้เขียนให้ครบทุกคน ไม่ต้องใส่คำนำหน้านามใด ๆ ถ้ามีมากกว่า 1 คนให้พิมพ์คำว่า “และ” หน้าชื่อคนสุดท้าย โดยใส่ตัวเลขอารบิคพิมพ์แบบตัวยกต่อท้ายนามสกุลและใส่เครื่องหมายดอกจันกำกับท้ายตัวเลขสำหรับผู้นิพนธ์ประสานงาน ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวธรรมดา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
ที่อยู่หรือหน่วยงาน
ให้พิมพ์ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) ชื่อหน่วยงานหรือสถาบันของผู้เขียนทุกคน โดยเรียงตามหมายเลข ไว้ท้ายกระดาษของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับผู้นิพนธ์ประสานงาน (Corresponding Author) ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ +66X XXXX XXXX และ e-mail: ที่ติดต่อได้ ใช้ตัวอักษรขนาด 12 ตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
บทคัดย่อ ( Abstract)
ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่คนละหน้า โดยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษซึ่งต้องมีเนื้อหาตรงกัน ให้พิมพ์คอลัมน์เดียวเพียง 1 ย่อหน้า เนื้อหาในบทคัดย่อควรระบุวัตถุประสงค์โดยย่อ เครื่องมือ สถิติ วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย และบทสรุปโดยย่อ หัวข้อบทคัดย่อใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวหนา ส่วนเนื้อหาใช้ตัวธรรมดา พิมพ์ชิดขอบทั้งสองด้านและมีความยาวไม่เกิน 250 คำ
คำสำคัญ ( Keyword)
ให้พิมพ์ “คำสำคัญ: ” เป็นภาษาไทยและ “Keywords: ” ภาษาอังกฤษอยู่คนละหน้าใต้บทคัดย่อ (Abstract) ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวหนา ส่วนเนื้อหาใช้ตัวธรรมดา สำหรับคำสำคัญภาษาไทย หากมีคำสำคัญหลายคำให้ใส่เครื่องหมาย Semicolon (;) คั่นระหว่างคำ ตัวอย่างคำสำคัญภาษาไทย คำสำคัญ: ออนไลน์; ประเทศไทย สำหรับคำสำคัญภาษาอังกฤษ (Keywords: ) ให้เรียงลำดับอักษร
A-Z และใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้น ชื่อเฉพาะ ตัวอย่างคำสำคัญภาษาอังกฤษ Keywords: online; Thailand
เนื้อหา ( Text)
บทความวิจัยประกอบด้วย
- บทนำ บอกความสำคัญ หรือที่มาของปัญหาที่นำไปสู่การศึกษา วัตถุประสงค์ และอาจรวมการทบทวนวรรณกรรม
- วัสดุอุปกรณ์และวิธีการวิจัย กล่าวถึงรายละเอียดการวิเคราะห์ และการทดลองที่กระชับและชัดเจน
- ผลการวิจัย บอกผลที่พบอย่างชัดเจน สมบูรณ์ และมีรายละเอียดครบถ้วน อาจมีรูปภาพหรือตารางที่ชัดเจนประกอบคำอธิบาย
- สรุปผลและอภิปรายผล อาจเขียนรวมกันได้ เป็นการประเมินการตีความ และการวิเคราะห์ในแง่มุมต่าง ๆ ควรมีการอ้างหลักการ หรือทฤษฎีมาสนับสนุนหรือหักล้างอย่างเป็นเหตุเป็นผลและอาจมีข้อเสนอแนะที่จะนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์
กิตติกรรมประกาศ
ระบุสั้น ๆ ว่าได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและความช่วยเหลือจากแหล่งใดบ้าง (ถ้ามี)
เอกสารอ้างอิง
( References)
การอ้างอิงในบทความใช้การอ้างอิงแบบนามปี (Name – Year System) และเอกสารอ้างอิงใช้รูปแบบ APA7 ทุกรายการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหาต้องใส่ในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ห้ามใส่โดยปราศจากการอ้างอิงในเนื้อบทความ และมีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทุกรายการของเอกสารอ้างอิงให้แยกระหว่างเอกสารอ้างอิงภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และให้ใส่ทุกรายการของเอกสารอ้างอิงภาษาไทยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ เติมคำว่า “[in Thai]”
ตาราง รูป และ
สมการ
ตาราง ต้องมีหมายเลขกำกับใช้คำว่า “ตารางที่ ...” และมีคำอธิบายไว้เหนือตาราง รูป ต้องมีหมายเลขกำกับใช้คำว่า “รูปที่ ...” และมีคำอธิบายใส่ไว้ใต้รูป (ตารางและรูปให้บันทึกในรูปแบบของ .jpg) ทุกตารางและรูปที่ใส่ในบทความจะต้องมีการกล่าวอ้างในเนื้อบทความ สมการ ต้องพิมพ์กึ่งกลางคอลัมน์มีหมายเลขกำกับอยู่ภายในวงเล็บ และหมายเลขสมการต้องอยู่ชิดขอบด้านขวาสุดของคอลัมน์
ภาคผนวก
(ถ้ามี)
เกณฑ์การพิจารณา
บทความจะต้องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นอย่างน้อย 3 คน ซึ่งกองบรรณาธิการมีหลักเกณฑ์การพิจารณาผลงาน มีดังนี้
1. ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิจารณาเนื้อหาสาระ และคุณภาพทางวิชาการ (Peer-review) แบบ Double blind
2. สำหรับบทความที่ส่งเข้ามายังระบบออนไลน์จะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องตามแบบฟอร์มหรือรูปแบบที่กำหนด (Pre Peer-review) โดยกองบรรณาธิการก่อนส่งผู้ทรงคุณวุฒิ
3. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตัดสิทธิ์การตีพิมพ์ ในกรณีที่บทคัดย่อ บทความไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มหรือรูปแบบที่กำหนด รวมทั้งไม่แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
4. ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย การตีพิมพ์ซ้ำจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
การส่งต้นฉบับ
การส่งหลักฐาน
สามารถส่งต้นฉบับผ่านระบบออนไลน์ได้ที่
https://so10.tci-thaijo.org/index.php/FTEJournal
e-mail: jtechEE@fte.kmutnb.ac.th
หลังจากเจ้าของบทความได้รับแบบตอบรับการตีพิมพ์แล้ว ให้ดำเนินการส่งใบสมัครสมาชิก หลักฐานการโอนเงินค่าสมัครสมาชิกและค่าดำเนินการจัดพิมพ์ ได้ทางอีเมล์
jtechEE@fte.kmutnb.ac.th หรือทางไปรษณีย์โดยส่งมาที่
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิศวกรรมศึกษา 1518 ถ.ประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประสานงานและจัดการ โทรศัพท์ 0 2555 2000 ต่อ 3217
หรือโทรศัพท์ 098 991 2548 e-mail: jtechEE@fte.kmutnb.ac.th
3.การจัดเก็บค่าดำเนินการจัดพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิศวกรรมศึกษา จัดเก็บเมื่อบทความได้รับการอนุมัติตีพิมพ์แล้วเท่านั้น รายละเอียดดังนี้
ผู้นิพนธ์ประสานงาน ที่เป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยจำนวนเงินไม่เกิน 1,500 บาท ต่อหนึ่งบทความ
ผู้นิพนธ์ประสานงาน ที่เป็นนักศึกษาบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยจำนวนเงินไม่เกิน 1,500 บาท ต่อหนึ่งบทความ
ประกาศคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เรื่อง การเก็บเงินค่าดำเนินการจัดพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยวารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิศวกรรมศึกษา