การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี กลุ่มประชากรในครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 74 คน และกลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน ได้รับคัดเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้สื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี 3) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการหาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี พบว่า ค่าประสิทธิภาพของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.95/82.52 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 11.14 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 37.13 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 24.76 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.53 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี อยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.39
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์และเนื้อหาในเว็ปไซต์ของวารสาร (รวมถึง โดยไม่จำกัดเฉพาะ เนื้อหา รหัสคอมพิวเตอร์ งานศิลป์ ภาพถ่าย รูปภาพ โสตทัศนวัสดุ) เป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารและผู้ได้รับการโอนสิทธิทุกราย
References
Chaimongkhol, N., Pungthong, M. & Sripadit, A. (2020). 2-Dimensional Augmented Reality Technology : Milling Workpiece Alignment Using Automated Machine. Journal of industrial education, 19(2), 80-89. [in Thai]
Chatwatthana, P., Piriyasakulwong, P. (2017). Education 4.0 for Student in the 21st Century. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 8(1), 289-298. [in Thai]
Chotechuang, W., Pankasem, C. & Saisang, W. (2019). Learning Solar System with Augmented Reality Technolog. The 7th Academic Science and Technology Conference.” 1637-1645. Pathumthani: Rangsit University. https://ict.su.ac.th/journal/file_ejr/vol2/ICT_Journal_vol1no2 [in Thai]
Khanhachai, P., & Khlaisang, J. (2020). Development of 5E flipped learning model with infographic design process to enhance science process skills and visual literacy of lower secondary school students. Journal of Information and Learning, 31(3), 25-36.
Meesuwan, W. (2015). Developing Augmented Reality with Processing and OpenSpace3D. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Ngoebudkote, K., Bunroek, P. & Muhamad, N. (2022). The Development of Augmented Reality Learning Media in Functional Group of Organic Chemistry by Sketch Upand Pixlive Maker. Silpakorn Educational Research Journal, 14(1), 441-453. [in Thai]
Nuallaorng, T., Preechadirek. (2015). Applying 3D Digital Learning-Based Game for Improving Students English Language Skills in accordance with Multiple Intelligence Theory via Tablet Devices. ICT Silpakorn Journal, 2(1). [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Council on NESDC. (2017). The Twelfth National Economic and Social Development Plan. Bangkok: Cabinet and Royal Gazette Publishing Office. [in Thai]
Patai, G., Janpum, P. & Watthanasura, A. (2018). Animal Planet Vocabulary Book with Augmented Reality Technology. Journal of Project in Computer Science and Information Technology, 4(1), 23-28. [in Thai]