การประเมินหลักสูตรพื้นฐานการเตรียมความพร้อมศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สำหรับจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กับโรงเรียนเครือข่ายสู่การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

กิตติ จุ้ยกําจร
สิริพร อั้งโสภา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีพพื้นฐานระดับอุดมศึกษาในโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกับโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือ และ 2) ประเมินหลักสูตรพื้นฐานการเตรียมความพร้อมศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สำหรับจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกับโรงเรียนเครือข่ายสู่การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นและการสนทนากลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบุคลากรและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ จำนวน 6 แห่ง และบุคลากรของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือ จำนวน 6 คน ผู้บริหารคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จำนวน 2 คน และ หัวหน้าโครงการหรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาพื้นฐานจำนวน 5 คนและนักเรียนระดับชั้น ม.6 ที่เข้าร่วมโครงการ ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงสำรวจ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาระดับอุดมศึกษา 2) เครื่องมือในการเก็บข้อมูลสนทนากลุ่ม ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการประเมินหลักสูตรพื้นฐานการเตรียมความพร้อมศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตในรูปแบบ CIPIEST และประเด็นคำถาม ในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีพพื้นฐานในภาพรวมระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =4.26, S.D.=0.17) นักเรียนระดับชั้น ม.6 ที่เข้าร่วมโครงการ มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีพพื้นฐานในภาพรวมระดับมาก (µ =4.17, gif.latex?\sigma=0.18) และผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นต่อการประเมินหลักสูตรโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =4.20, S.D.=0.40) สรุปได้ว่าผลการประเมินหลักสูตรที่ได้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและขยายผลต่อได้

Article Details

How to Cite
จุ้ยกําจร ก. ., & อั้งโสภา ส. . (2023). การประเมินหลักสูตรพื้นฐานการเตรียมความพร้อมศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สำหรับจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กับโรงเรียนเครือข่ายสู่การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 14(3). สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/FTEJournal/article/view/748
บท
Article

References

Amoonchat, S. (2021). Evaluation of School-Based Curriculum on Thai Language Strand of Banhindan School, Khiri Rat Nikhom, Surat Thani, by Using CIPPIEST Model. (master’s thesis). Suratthani Rajabhat University. [in Thai]

Dechworachai, S., Laopreeda, S., & Chatwatanasiri, H. (2013). Factors Affecting the Continued Enrollment from Pre-degree Students at Ramkhamheng University. Research Office, Ramkhamhaeng University. [in Thai]

Khamkhae, K., Boonyapithak, S., & Thamaphiban, W. (2014). An Evaluation of The Curriculum in Career and Technology Group Learning Strand for Prathomsuksa 6 Students of Thachamung Samuckee School Network, Ruttaphum District, Songkhla Province. Journal of Education Thaksin University, 14(2), 119-129. [in Thai]

Nillapun, M., Sirisumpun, O., Chatiwat, W., Po Ngern, W., & Markjooy, A. (2017). The Curriculum Evaluation on Doctoral of Philosophy Program in Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Silpakorn University. Journal of Veridian E-Journal,Silpakorn University, 10(2), 1198-1216. [in Thai]

Office of the Administration Upper hignt school. (2015). Approaches for organizing learning skills in the 21st century that emphasize professional competency. Agricultural cooperative printing demonstrations of Thai co., Ltd. [in Thai]

Office of the Vocational Education Commission (2012). Policy, goal, strategy, production strategy which manpower towards the world 2012-2026. https://www.vec.go.th/เกี่ยวกับสอศ/ภารกิจและนโยบาย.aspx. [in Thai]

Panich, V. (2015). 21st Century How to create learning for students. Journal of Walailak Learning Innovations, 1(2), 3-14. [in Thai]

Pecharat, S., Intachak, A., & Rakksuol, N. (2016). State of Learning Management to Support Analytical for the Second Year Vocational Certificate Student in Suphan Ruri Proince. EAU Heritage Journal of Social Science and Humanity, 6(3), 293-300. [in Thai]

Suknaisith, A. (2020). Teacher’s Instruction That Supporting Critical Thinking For Secondary Students In Bangkok. Journal of Interdisciplinary Sripatum Chonburi, 6(1), 68-77. [in Thai]