รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบสำหรับนวัตกรในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ สีสมุทร
พินันทา ฉัตรวัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบสำหรับนวัตกรในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนารูปแบบและระบบการเรียนการสอนที่มาจากหลากหลายสถาบันในระดับอุดมศึกษา จำนวน 5 ท่าน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบที่พัฒนาขึ้น มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ เตรียมความพร้อม นิยามหัวข้อ สร้างและทดสอบ นำเสนอ และประเมินผล 2) ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า (2.1) รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบที่พัฒนาขึ้น (องค์ประกอบรวม) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.64, S.D.=0.54) (2.2) รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบที่พัฒนาขึ้น (แยกตามองค์ประกอบ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.56, S.D.= 0.56) (2.3) กระบวนการเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.58, S.D.=0.51) และ (2.4) รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใชการคิดเชิงออกแบบที่พัฒนาขึ้น (ด้านการนำไปใช้งาน) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.75, S.D.=0.36) ตามลำดับ จากผลการวิจัยข้างต้น สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์สำหรับนวัตกรในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
สีสมุทร เ., & ฉัตรวัฒนา พ. . (2023). รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบสำหรับนวัตกรในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 14(1), 23–32. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/FTEJournal/article/view/348
บท
Article

References

Brown, T. (2008). Design thinking. Harvard Business Review, 86(6), 84-92.

Chatwattana, P. & Nilsook, P. (2017). A Web-based Learning System using Project-based Learning and Imagineering. International Journal of Emerging Technologies in Learning, 12(5), 4-22.

Choi, H. H. & Kim, M. J. (2017). The effects of analogical and metaphorical reasoning on design thinking. Thinking Skills and Creativity, 23, 29-41.

Dole, S., Bloom, L. & Doss, K. K. (2016). Rocket to Creativity: A Field Experience in Problem-Based and Project-Based Learning. Global Education Review, 3(4), 19-32.

Gértrudix, M. & Bron, M. (2019). Project-based Learning for Teaching Transmedia Communication. Journal of Problem Based Learning in Higher Education, 7(1), 141-151.

Hernández, G. W. (2016). Detection of Potentially Creative Students for Informatics Activities. International Journal of Engineering Pedagogy, 6(1), 80-84.

Kanasutra, P. (1995). Statistics for research in the behavioral sciences. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Khamanee, T. (2016). Pedagogical sciences: Knowledge for organizing effective learning processes (20th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Lince, R. (2016). Creative Thinking Ability to Increase Student Mathematical of Junior High School by Applying Models Numbered Heads Together. Journal of Education and Practice, 7(6), 206-212.

Ministry of Education. (2010). National Education Act B.E. 2542 Amendment (No.2) B.E. 2545 and (No.3) B.E. 2553. https://drive.google.com/file/d/1io9ioK38P_pjWtZBiblus409rEdC24aj/view (in Thai)

Mitchell, J. E. & Rogers, L. (2020). Staff perceptions of implementing project-based learning in engineering education. European Journal of Engineering Education, 45(3), 349-362.

Nilsook, P., Chatwattana, P. & Seechaliao, T. (2021). The Project-based Learning Management Process for Vocational and Technical Education. Higher Education Studies, 11(2), 20-29.

Phunaploy, N., Chatwattana, P. & Piriyasurawong, P. (2021). On-line instruction with design thinking for creative skills development. Global Journal of Engineering Education, 23(2), 121-127.

Phunaploy, N., Chatwattana, P. & Piriyasurawong, P. (2021). The Results of Development of the Online Instruction with Design-based Thinking for the Construction of Creative Products. TEM Journal, 10(4), 1715-1720.

Ralph, R. A. (2016). Post secondary project-based learning in science, technology, engineering and mathematics. Journal of Technology and Science Education, 6(1), 26-35.

Yingheng, P. & Rampai, N. (2020). Development Model of Blended Cloud Learning Technology by using Imagineering Concept to Enhance Innovative Creativity Thinking of Higher Education Students. NRRU Community Research Journal, 14(3), 208–221.