การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการพื้นฐานการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์และการควบคุมหุ่นยนต์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ

Main Article Content

กิตติ จุ้ยกำจร
สิริพร อั้งโสภา
ธงชาติ พิกุลทอง
วิภาส วิกรมสกุลวงศ์

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรายวิชาสอนเสริมพื้นฐานช่างอุตสาหกรรมรายวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์และการควบคุมหุ่นยนต์เบื้องต้น  เป็นรายวิชาที่มุ่งเน้นให้ความรู้ด้านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบก ฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม การต่อวงจร และการต่อยอดสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์  โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการรายวิชาสอนเสริมพื้นฐานการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์และการควบคุมหุ่นยนต์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กับ โรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติการรายวิชาสอนเสริมพื้นฐานการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์และการควบคุมหุ่นยนต์เบื้องต้นที่พัฒนาขึ้น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังจากเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติการรายวิชาสอนเสริมพื้นฐานการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์และการควบคุมหุ่นยนต์เบื้องต้นที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ จำนวน 25 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึกปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้น แบบประเมินความเหมาะสมของชุดฝึกปฏิบัติการ แบบประเมินผลการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติของผู้เรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที่ ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅ = 4.52, S.D. = 0.52) ประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติการเท่ากับ 86.70/88.40 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดมากกว่าหรือเท่ากับ 85/85 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นมีค่าทดสอบทีเท่ากับ 6.1047 เทียบกับค่าวิกฤตจากตารางเท่ากับ 1.7109 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แบบหางเดียว และระดับความพึงพอใจของผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( 𝑥̅ = 4.45, S.D. = 0.58) สรุปได้ว่าชุดฝึกปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น และทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

Article Details

How to Cite
จุ้ยกำจร ก. ., อั้งโสภา ส. ., พิกุลทอง ธ. ., & วิกรมสกุลวงศ์ ว. . (2024). การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการพื้นฐานการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์และการควบคุมหุ่นยนต์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 15(3), 58–69. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/FTEJournal/article/view/1209
บท
Article

References

Boontham, T. (2022). A Development of Auto-Mechanic Precision Measurements Job Instructional Package Subject Code 20101-2009 by Prctical Teaching Technique for Certificate Level Curriculum, Be.2019 Of Vocational Education Commission. Vocational Education Innovation and Research Journal, 6(1),

-114. [in Thai]

Chobyai, N. (2016). A Development of a Training Curriculum on The Topic, Robot Control Programming, for Lower Secondary School Students [master’s thesis, Thepsatri Rajabhat University]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php. [in Thai]

Chotipun, K., Sureeyaphan, M., Chaisit, I., Chunden, J., & Pharathong, W. (2022). The Development and Efficiency Evaluation of an Experimental Set of Conveyor Belts Using an Inverter Combined with a Programmable Controller. Institute of Vocational Southern Region 1 Journal, 7(1), 125-130. [in Thai]

Kaikaew, E. (2023). The Development of Training Package on Control Programming using Analog and to Digital Signals. Journal of Technical and Engineering Education, 14(2), 30-48. [in Thai]

Office of the Administration Upper high school. (2015). Approaches for organizing learning skills in the 21st century that emphasize professional competency. [in Thai]

Office of the Education Concil. (2017). The National Education Plan B.E. 2560-2579 (2017-2036).

[in Thai]

Office of the National Economic and Social Development Council. (2023). The Thirteenth National Economic and Social Development Plan (2023-2027). [in Thai]

Phumphongkhochasorn, P., Rungruang, S., Sintae, S., Rujirakan, P., Oui-panich, T., Prakaikiat, A., Meecharoen, S., & Wang Ngoen, P. (2022). Development of a Computer-Based Teaching Model for Business Using Class StartTechnology Combibed with Regular Classroom Learning in Computer Systems for Facculty of Administration and Management, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. Journal of Modern Learning Development, 8(2), 282-293. [in Thai]

Sanan-aue, S. (2019). The Development of Learning Activity Kit in Psychomotor Domains Related to Listening, Speaking, Reading, Writing Thai Language of the 4th Grade Primary Level Students of Wat Nuea Municipality School, Roi Et Province. Journal of Educational Technology and Communications Facutyl of Education Mahasarakham University, 2(6), 45-57. [in Thai]

Tongpasit, C., Seingchin, S., Triwong, P., Sangsuriya, S., & Tongpasit, W. (2018). The Development and Efficiency Evaluation of the Instructional Module on Energy Conservation Focusing on Preparation and Production of Compressed Air Topic. Journal of Technical Education Development, 30(105), 130-136. [in Thai]

Wangworawong, W., Suwannasri, W., Binawaekachaeh, A., Janthontapo, U., Jeenupong, N., & Deewanichsakul, S. (2024). The Development of Practical Set for PLC Programming to Control a Pneumatic System. Journal of Technical and Engineering Education, 15(1), 49-58. [in Thai]