จริยธรรมการเผยแพร่
วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิศวกรรมศึกษา จัดทำขึ้นตามแนวทางและมาตรฐานที่พัฒนาโดยคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ (COPE : https://publicationethics.org/)
จริยธรรมการเผยแพร่และเกี่ยวกับนโยบายการลอกเลียนแบบเนื้อหา
กระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารนี้ เป็นกระบวนการทำงานที่มีความเกี่ยวโยงอย่างเป็นระบบของ ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน บรรณาธิการ และฝ่ายประสานงานและจัดการ ดังนั้น เพื่อรักษามาตรฐานทางจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ และการทำงานอย่างมีมารยาทในวงการวิชาการ ฝ่ายประสานงานและจัดการจะทำงานกับบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินอย่างใกล้ชิด วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิศวกรรมศึกษาได้กำหนดความรับผิดชอบทางจริยธรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละภาคส่วน ดังต่อไปนี้
จริยธรรมและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ:
- บรรณาธิการและ/หรือกองบรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินและคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์ และคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินขั้นสุดท้ายทุกบทความที่ได้มีการประเมินสำหรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
- บรรณาธิการพึงรักษาไว้ซึ่งความโปร่งใสของการวิจัยด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม และจะยินดีรับพิจารณาต้องมีความพยายามอยู่เสมอที่จะเพิกถอนการตีพิมพ์ หรือแก้ไขคำผิด หากได้รับการแจ้งและร้องขอจากผู้นิพนธ์
- บรรณาธิการควรดำเนินการต่อตัดสินใจพิจารณาต้นฉบับบทความ เพื่อให้ได้เนื้อหาที่มีคุณภาพ โดยปราศจากการตัดสินใจที่มีอคติใดๆ
- บรรณาธิการควรประเมินบทความต้นฉบับบนพื้นฐานคุณค่าเชิงวิชาการ และปราศจากผลประโยชน์ทางการค้าหรือผลประโยชน์ส่วนตน
- บรรณาธิการไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ส่งเข้ามารับการพิจาณาก่อนการตีพิมพ์
- บรรณาธิการควรตรวจสอบโดยทันทีและอย่างละเอียด หากมีข้อสงสัยการประพฤติผิดในการวิจัยด้วยตามอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสม
จริยธรรมและความรับผิดชอบของผู้ประเมิน:
- ผู้ประเมิน ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ ต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความอย่างละเอียดเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และแจ้งผลการประเมินภายในระยะเวลาที่กำหนดจากบรรณาธิการ
- ผู้ประเมินทำการประเมินบทความต้นฉบับที่ได้รับทั้งในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณค่าทางวิชาการ ความสมบูรณ์ของเนื้อหาและโครงสร้าง ภาษาที่ใช้ ความชัดเจนของสมมติฐาน/วัตถุประสงค์ ความชัดเจนของการนำเสนอและการจัดระเบียบบทความ ความถูกต้องทางวิชาการ การอภิปรายผล และการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพของบทความ
- ผู้ประเมินไม่ควรเปิดเผยข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ส่งมารับการพิจารณาก่อนการตีพิมพ์
- ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นอย่างอิสระได้ โดยผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
- ผู้ประเมินต้องแจ้งบรรณาธิการ เมื่อพบหลักฐานการกระทำผิดใดๆ ของจริยธรรมการวิจัยในบทความที่ทำการประเมิน
จริยธรรมและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์:
- บทความทุกส่วนที่ปรากฏในต้นฉบับบทความจะต้องเป็นงานใหม่ที่ได้มาจากข้อเท็จจริงจากการศึกษา ไม่บิดเบือนข้อมูล ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ และปราศจากการคัดลอกผลงาน
- บทความงานไม่ควรถูกตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนหรือถูกส่งไปรับการพิจารณาในวารสารอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน
- ผู้นิพนธ์ต้องเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน
- ผู้นิพนธ์ต้องเขียนกิตติกรรมประกาศให้ชัดเจน รวมถึงระบุแหล่งทุนวิจัยที่สนับสนุน
- ข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรจะต้องได้รับการอนุญาตจากองค์กรที่เกี่ยวข้องก่อน
- ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยหรือมีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
- ห้ามส่งบทความที่มีการเขียนงานให้ผู้อื่นมารับการพิจารณาตีพิมพ์ การคัดลอกเนื้อหาของผลงานผู้อื่น และการคัดลอกข้อมูลจากผลงานตนเอง เป็นข้อห้ามในวารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิศวกรรมศึกษา ทุกบทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณา จะต้องผ่านการคัดกรองโดยใช้ซอฟแวร์ตรวจจับการคัดลอก
นโยบายการลอกเลียนแบบเนื้อหา
การลอกเลียนแบบเนื้อหาและการคัดลอกด้วยตนเองเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาดในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ เอกสารทั้งหมดที่ส่งมาจะต้องผ่านการคัดกรองผ่านซอฟต์แวร์ตรวจจับการลอกเลียนแบบ
จริยธรรมเกี่ยวกับการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง
บทความที่อธิบายงานทดลองในมนุษย์หรือสัตว์ควรได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันที่ดำเนินการจริง การวิจัยจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องด้านจริยธรรมของการทดลองและความสมบูรณ์ของการวิจัย ผู้เขียนควรระบุว่าขั้นตอนการปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการที่รับผิดชอบด้านการทดลองในมนุษย์หรือไม่ สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ ผู้เขียนควรระบุว่าขั้นตอนการปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในแนวทางการดูแลและการใช้สัตว์ทดลองหรือไม่
คำชี้แจงความเป็นส่วนตัว
ชื่อและที่อยู่อีเมลที่กรอกไว้ในเว็บไซต์วารสารนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้โดยเฉพาะ และจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดหรือเพื่อบุคคลอื่นใด