การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์เพื่อจัดการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ 2. ประเมินคุณภาพด้านการใช้งานคิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าใช้งานคิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรภายในวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 3 คน เพื่อประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และ 2. ผู้เข้าใช้งาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาควิชานักวิชาการพัสดุ และอาจารย์ คัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เพื่อทดลองใช้และศึกษาความพึงพอใจหลังจากใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพและศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าใช้งาน ผลการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ กรณีศึกษา ครุภัณฑ์ประเภทคอมพิวเตอร์ ประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 265 รายการ สามารถสรุปผลการประเมินทั้ง 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการออกแบบคิวอาร์โค้ด มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 4.76 อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ด้านข้อมูลครุภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 4.89 อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3. ด้านภาพรวมผลการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 4.91 อยู่ในระดับมากที่สุดและผลวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อระบบ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการออกแบบ
คิวอาร์โค้ด มีค่าเฉลี่ยโดยรวมของความพึงพอใจในด้านการออกแบบคิวอาร์โค้ดอยู่ที่ 4.65 มีความพึงพอใจมากที่สุด 2. ด้านข้อมูลครุภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมของความพึงพอใจในด้านข้อมูลครุภัณฑ์อยู่ที่ 4.56 มีความพึงพอใจมากที่สุด
3. ด้านภาพรวมผลการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมของความพึงพอใจในด้านภาพรวมผลการใช้งานอยู่ที่ 4.70 มีความพึงพอใจมากที่สุด จากผลการวิจัยที่ได้สามารถสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ กรณีศึกษา ครุภัณฑ์ประเภทคอมพิวเตอร์ ประจำปีงบประมาณ 2563 ช่วยจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ของหน่วยงาน ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถตรวจสอบสถานะรายการครุภัณฑ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี และรายงานผลการตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลครุภัณฑ์ได้ง่าย และสะดวกต่อเจ้าหน้าที่ภาควิชา นักวิชาการพัสดุและอาจารย์ในการใช้งาน อีกทั้งยังเป็นแนวทางที่ดีสำหรับหน่วยงานอื่น ๆ ที่สามารถนำการใช้คิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้
Article Details
ลิขสิทธิ์และเนื้อหาในเว็ปไซต์ของวารสาร (รวมถึง โดยไม่จำกัดเฉพาะ เนื้อหา รหัสคอมพิวเตอร์ งานศิลป์ ภาพถ่าย รูปภาพ โสตทัศนวัสดุ) เป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารและผู้ได้รับการโอนสิทธิทุกราย
References
Anuwong, K. & Supasuteekul, A. (2018). AUN-QA Concept and Criteriaat Programme Level. Journal of Industrial Education, Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 12(1), 9-18. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jindedu/article/download/10318/8631/30347 [in Thai]
College of Industrial Technology. (2021). Self-assessment report, academic year 2021. College of Industrial Technology. [in Thai]
College of Industrial Technology. (2020 a). Actual inventory report. College of Industrial Technology. [in Thai]
College of Industrial Technology. (2020 b). Inventory inspection report, academic year 2021. College of Industrial Technology. [in Thai]
Government Procurement and Inventory Management Act B.E. 2560 (2017). (2017, February 24). Government Gazette. No. 134 Section 24 A. page 13-54. https://corporate.airportthai.co.th/wp-content/uploads/2019/06/Government-Procurement-and-Inventory-Management-Act-B.E.-2560.pdf [in Thai]
Jaratsantijit, Y. (2018). Development of Asset Management System for Managing Asset Data and Mobile Application for Counting Asset. Council of University Administrative Staff of Thailand, 7(2), 24-35. https://www.council-uast.com/journal/upload/fullpaper/27-06-2019-549756406.pdf [in Thai]
Kamnerdwam, T.A. & Yokchawee, S. (2021). QR code system and application to increase efficiency in organization. UBU Engineering Journal 14(2), 24-37. [in Thai]
Kitdesh, A. & Kaewbooddee, K. (2018). OR CODE in Thailand and Application of QR Code Technology in the Hospital in Thailand 4.0. Mahidol R2R e-Journal 5(2), 51-59. [in Thai]
Panyavaraporn, J. Dechapiboon, T., Eiampech, M. & Ruksee, S. (2020). NFC-Based Asset Management System. RMUTI JOURNAL Science and Technology 13(3), 69-87. [in Thai]
Paojeen, J. & Kaewurai, R. (2020). QR Code for Equipment Online Database Application of the Faculty of Public Health, Naresuan University. Journal of Information and Learning 31(3), 37-46. https://doi.org/10.14456/jil.2021.15 [in Thai]
Pislae-ngam, K. (2018). Application of Quick Response Code Technology in Languages Communications and Technology Course of General Education Program. Innovation for Learning and Invention 2018 (pp. 262-272). Faculty of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
https://www.teched.rmutt.ac.th/ili2018/wp-content/uploads/2018/08/12-ILI-032-กัตตกมล-พิศแลงาม.pdf [in Thai]