ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประชาชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การเลือกซื้อ, รถยนต์ไฟฟ้า(EV), พฤติกรรมผู้บริโภคบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น (2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัย และ (3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ประชากรคือประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่มีรถยนต์ไฟฟ้าหรือมีความต้องการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 400 ตัวอย่าง สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 พบว่า (1) เมื่อรายได้ต่างกันพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในวัตถุประสงค์สำคัญในการเลือกซื้อและการรับทราบและศึกษาข้อมูลมาจากแหล่งต่างกัน (2) เพศต่างกันพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในปัจจัยวัฒนธรรม (3) อายุต่างกันพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในด้านสถานที่และด้านการส่งเสริมการตลาด (4) ราคาที่เหมาะสมพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในปัจจัยวัฒนธรรม (5) ผู้ที่มีส่วนร่วมมากที่สุดในการตัดสินใจพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในปัจจัยเศรษฐกิจ และ (6) อาชีพต่างกันพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันในปัจจัยเศรษฐกิจและด้านผลิตภัณฑ์
2. ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เมื่อกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า สมการด้านกระบวนการตัดสินใจดังต่อไปนี้ (1) สมการอายุ=2.917-0.545Aเศรษฐกิจ-0.432Bเทคโนโลยี+0.860Eผลิตภัณฑ์-0.919Fราคา+0.720Gสถานที่ (2) สมการรายได้เฉลี่ยต่อเดือน = 4.656 - 1.545Aเศรษฐกิจ - .553 Bเทคโนโลยี + .139 Dวัฒนธรรม + 1.581 Hการส่งเสริมการตลาด และ (3) สมการผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ = 7.569 - 0.940Aเศรษฐกิจ + 1.157 Hการส่งเสริมการตลาด
References
กรมการขนส่งทางบก (2565). จำนวนรถจดทะเบียนใหม่ จำแนกตามชนิดเชื้อเพลิง ปี พ.ศ.2553 - 2565 (รายจังหวัด). สืบค้นจาก https://web.dlt.go.th/statistics/
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2566). เอกสารเผยแพร่ ข้อมูลจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2567. นครราชสีมา: สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา.
ฐานเศรษฐกิจ. (2566). "ประเทศไทย" กับการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ EV สำคัญของโลก. สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/business/552265.
ณรงค์ชัย ศรีขวัญเจริญ เอกชัย ศิริกิจพาณิชย์กูล และสโรช บุญศิริพันธ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้า, การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.
ไทยรัฐออนไลน์. (2565). คำนวณค่าไฟ ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหนึ่งครั้ง เสียเงินเท่าไหร่มาดูกัน. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/auto/news/2459489.
ธนภค วกุลกันต์ธน (2563) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อการเลือกซื้อรถยนต์ประเภทประหยัดพลังงาน. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ฝ่ายวิจัยนโยบาย สวทช. (2560). อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
พงศ์พุฒ์ การะนัด. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการ. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
วรรณา ยงพิศาลภพ. (2566). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2566-2568: อุตสาหกรรมรถยนต์. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/getmedia/a289884f-81d9-42c1-a6ec-aa2ff8da50f8/IO_Automobile_230525_TH_EX.pdf.aspx.
วิศรุต ทั่งเพชร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ของกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ๊กซ์และเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพฯและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภกร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และ อรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (Marketing management). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2566). สรุปสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สู่เป้าหมายเศรษฐกิจ…“ยั่งยืน”, รายงานฉบับเต็ม เอกสารประกอบงานเสวนา Morning Talk ครั้งที่ 1, มีนาคม 2566.
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา. (2564). รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV). สืบค้นจาก https://sciplanet.org/content/8804
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย. (2561). EVAT Directory 2017-2018: Electric Vehicle Guidebook. สืบค้นจาก https://evat.or.th/images/evinfo/directory/pdf/5.pdf
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย. (2566). EVAT Directory 2022 - 2023 Electric Vehicle Guidebook. สืบค้นจาก https://evat.or.th/images/evinfo/directory/pdf/1.pdf
สำนักงานคลังจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มงานนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด. (2566). รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดนครราชสีมา ประจำไตรมาสที่ 2/2566. นครราชสีมา: กรมบัญชีกลาง.
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครราชสีมา. (2564). แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2565-2569) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP per capita) ปี พ.ศ.2564 จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นจาก https://data.go.th/dataset?q=gpp
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรประเทศไทย. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php
สุภาพร ปานกล้า และ ชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริดปลั๊กอิน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(2)
หนึ่งฤทัย รัตนาพร. (2562). การศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติต่อการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น X และ Y ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไอลดา ธรรมสังข์ (2564) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในจังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Kotler and Keller (2009). Marketing management (13th edition), New Jersey, Pearson Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K.L. (2012). Marketing management. (14th Ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.