การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหารเชิงกลยุทธ์, การบริหารงานวิชาการ, บทบาทนักบริหารบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 3) เพื่อศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 302 คน จากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กระจายตามกลุ่มของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาได้ 5 กลุ่มโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และการกำหนดกลยุทธ์ ตามลำดับ 2) การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.850 และ (R2 = 0.722) สามารถอธิบายสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ = 1.239 + 0.408(X4) + 0.160(X3) + 0.151(X1) , = 0.511(X4) + 0.207(X3) + 0.183(X1)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดประทรวงศึกษาธิการราชกิจจานุเบกษา.
จิรารัตน์ กระจ่างดี. (2562). การศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่, 10(1), 37.
ชนิสรา ชุมวงศ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ธนวรรณ รัตนเจริญ และ กัลป์ยมน อินทุสุต. (2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 1. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 53-60.
ธัญดา ยงยศยิ่ง. (2560). การบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยะลา เขต 3. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
เบญจมาศ ตันสูงเนิน. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 319.
ปิยะพร เขียวอินทร์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานาวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(2), 11.
พรพิมล อุ่นเสียม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.
ภวนันท์ชัย สวัสดิ์สละ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
เมวิกา แย้มยิ้ม. (2565). การศึกษาการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 40.
วันวิสา พรหมสุวรรณ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
สยุมภู เหมือนนิรุทธ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, นครนายก.
สุปรียา ชินพะออ. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสารคาม, มหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565. สืบค้นจาก https://samut2.spn2.go.th/?p=2528.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). รายงานการประเมินผลแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณพ.ศ.2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/education-council-secretariat/.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อารยา ศรีสุข. (2564). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2 วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Campbell, R. F., Bridges, F., & Nystrand, R. (1997). Introduction to educational administration Boston: Allyn Bacon. Inc.,TI358.
Cronbach, L. J. (1987). Statistical test for moderator variables: Flaws in analyses recently proposed. Psychological Bulletin. 102, 414-417.
Dor-haim. (2022). Educational leaders coping with longliness: the unique perspective of school principals and vice-Principals. Journal of Professional Capital and Community. 7(3), 290-304.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Smith. (2007). Academic Optimism and Student Achievement in Urban Elementary Schools. Journal of Educational Administration, 45(5). 556-568.
Wheelen, T. L., Hunger, J. D., Hoffman, A. N., & Bamford, C. E. (2018). Strategic management and business policy: Globalization, innovation, and sustainability. 15th ed. Harlow: Pearson Education Limited.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.