การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติต่อการช่วยเหลือสังคม และพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมของเฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์

ผู้แต่ง

  • เมธา แสงเดือนฉาย คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กิรติ คเชนทวา คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การเปิดรับข่าวสาร, ทัศนคติต่อการช่วยเหลือสังคม, การมีส่วนร่วมในกิจกรรม, เฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติต่อการช่วยเหลือสังคม และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ และทัศนคติต่อการช่วยเหลือสังคมของสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการช่วยเหลือสังคมของสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์และอาสาร่วมกตัญญูทีมคุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและบังเอิญจำนวน 400 คน การทดสอบความตรงของเนื้อหาและความน่าเชื่อถือด้วยวิธีของครอนบาร์คกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ระดับความเชื่อมั่น 0.957 สำหรับวิธีการทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำนวณหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 - 30,000 บาท และมีสถานะเป็นสมาชิกแฟนเพจบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ สำหรับช่วงเวลาที่ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์บ่อยที่สุด คือช่วงเวลา 18.01 - 22.00 น. เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของเพจ โดยใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุด โดยกด Like ข้อมูลที่นำเสนอมากที่สุด ส่วนความถี่ในการเปิดรับข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อการช่วยเหลือสังคมผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจฯ ในภาพรวมโดยเฉลี่ยเห็นด้วยมากที่สุด และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเฟซบุ๊กแฟนเพจฯ ภาพรวมในระดับมาก ผลจากการทดสอบสมมุติฐานพบว่า การเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊กแฟนเพจมีความสัมพันธ์ในระดับกลางกับทัศนคติต่อการช่วยเหลือสังคมของสมาชิกเฟซบุ๊กแฟน และทัศนคติต่อการช่วยเหลือสังคมของสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจฯ มีสัมพันธ์ในระดับกลางกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Author Biography

เมธา แสงเดือนฉาย, คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

References

ดวงพร ธีรกุลวาณิช. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและการมีส่วนร่วมของแฟนเพจบน Facebook Fanpage ช่างชุ่ย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เดชพันธุ์ ประวิชัย. (2553). สื่อมวลชนกับบทบาทการพัฒนาในยุคสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_11/pdf/aw14.pdf

บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์. (23 มกราคม 2562). เฟซบุ๊กแฟนเพจบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/Bhin.fanclub/

ปริชญา ภูวศิน. (2549). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความคิดเห็นเกี่ยวกับการสารสื่อสารด้านเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ฝ้าย เพียซ้าย. (2544). ผลจากการใช้ภาพโป๊เปลือยต่างระดับในงานโฆษณาต่อการระลึกถึงตราสินค้าทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าและความตั้งใจซื้อสินค้า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชร์สิตา รัฐโชติพิริยกร. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสัตว์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีศึกษาบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กในประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภาสกร โควินท์. (2553). การขอบริจาคเงินเพื่อการกุศลบนเครือข่ายทางสังคมออนไลน์: กรณีศึกษาการขอบริจาคเงินเพื่อการกุศลบนเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ hi5 ในประเทศไทย.การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2553). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social media.กรุงเทพมหานคร: วิตตี้กรุ๊ป.

สุกิจ อทินทุ. (ม.ป.ป.). CSR Man เมื่อการทําดีต้องมีผู้นํา. สืบค้นจาก http://www2.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.asPx?NewsID=9520000121922

สุพรรณี ดีสวัสดิ์. (2558). การสื่อสารเพื่อช่วยเหลือสังคมผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กของมูลนิธิร่วมกตัญญูและการรับรู้ของประชาชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Baron, R. A. (1986). Behavior in organization. Boston: Allyn and Bacon.

Dainton, M., & ZeLLey, E. D. (2011). Applying communication theory for Professional Life: A Practical introduction (2nd ed.). Singapore: Sage.

Katz, E., Blumler, J. G., & Gurevitch, M. (1974). Uses and gratifications research. Retrieved December 20, 2017, from http://www.jstor.org/stabLe/2747854?seq=1#Page_scan_tab_contents

Quinn, K (2016). Why We Share: A Uses and Gratification Approach to Privacy Regulation in Social Media Use. Journal of Broadcasting & Electronic Media Research, 60(1), 61-86.

Tana. (2016). เผยสถิติการใช้ Internet และ Social Media ล่าสุด (2016): ประเทศไทยไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก. ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.9tana.com/node/thailand-social-stat-2016/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22