การยอมรับเทคโนโลยีการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา เชื้อประดิษฐ์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กิรติ คเชนทวา คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี, แอปพลิเคชันไลน์, ผู้สูงอายุ, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์การใช้งาน และทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความง่ายในการใช้งานและทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการใช้งานและความตั้งใจในการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ และความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจในการใช้งาน และพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินงานวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ในการแจกแบบสอบถามจำนวน 400 คน การทดสอบความตรงของเนื้อหาและความน่าเชื่อถือด้วยวิธีของครอนบาร์คกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ได้ระดับความเชื่อมั่น 0.983 สำหรับวิธีการทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการคำนวณหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 60-65 ปีมีการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท เป็นผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพมีประสบการณ์ในการใช้แอปพลิเคชันไลน์ 3-4 ปี ใช้งานเพื่อการสนทนาด้วยสมาร์ทโฟนมีการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้ แอปพลิเคชันไลน์ในระดับมาก มีการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้แอปพลิเคชันไลน์ในระดับมาก ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ในระดับมาก มีความตั้งใจที่จะใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อไปในระดับมาก โดยระยะเวลาที่ใช้แอปพลิเคชันไลน์เฉลี่ยต่อวัน คือ 1-3 ชั่วโมงต่อวันและจำนวน 2-5 ครั้งต่อวัน ส่วนพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ลักษณะต่าง ๆ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยรวม 3.71 ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ประโยชน์การใช้งานมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ในระดับสูงมากการรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ในระดับสูงมากทัศนคติที่มีต่อการใช้งานมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการใช้งาน แอปพลิเคชันไลน์ในระดับสูงมาก และความตั้งใจในการใช้งานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้งาน แอปพลิเคชันไลน์ในระดับกลาง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Author Biography

เจนจิรา เชื้อประดิษฐ์, คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

References

กิรณา สมวาทสรรค์ และกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2559). ได้ศึกษาพฤติกรรมการสื่อสาร กับการส่งต่อข้อมูล ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุ. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

จุฑารัตน์ ประเสริฐ. (2557). พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์กับการรับรู้ตนเองและการสร้างความ สัมพันธ์กับผู้สูงอายุไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมศักดิ์ บุญประเสริฐ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2556). ไลน์รูปแบบสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดีและ ข้อจำกัด ของแอปพลิเคชัน. วารสารนักบริหาร, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ และญาศิณี เคารพธรรม. (2560). สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 11(2), 367-387.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยปี 2561 Thailand Internet User Profile 2018. กรุงเทพมหานคร

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2558). แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร

อารีย์ มยังพงษ์ และ เกื้อกูล ตาเย็น. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร.

Ajzen, I., &Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. New Jersey: Prentice-Hall.

Dainton, M., & Zelley, E. D. (2011). Applying communication theory for professional life: A practical introduction (2nd ed.). Singapore: Sage.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

McCombs, M. E., & Becker, L. B. (1979). Using mass communication theory. New York: Prentice Hall.

Pan, Saleem Issa AI-Zoubi., & Maaruf Ali. (2010). E-mobile acceptance using unified theory of acceptance and use of technology (UTAUT) in Annual of emerging technologies (AETic). 3(4), 28-34.

Thansettakij Multimedia. (2563). สื่อสารโดนใจรุ่นใหญ่วัยสีน้ำเงิน. ค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563, จาก https://www.thansettakij.com/content/312693

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22