การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของ บริษัท โตโยด้า โกเซ รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
คำสำคัญ:
การพัฒนาสมรรถนะ, ประสิทธิภาพของการทำงาน, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บทคัดย่อ
การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาสภาพการพัฒนาบุคลากรบริษัท โตโยด้า โกเซ รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรบริษัท โตโยด้า โกเซ รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการศึกษาจากเอกสาร ผู้ให้ข้อมูลหลักมี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพนักงานดีเด่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และกลุ่มหัวหน้างาน รวม 12 คน ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจนกระทั่งข้อมูลอิ่มตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบัน บริษัท โตโยด้า โกเซ รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความรู้ ทักษะ และความสามารถของพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ยกระดับผลิตภาพ และเป็นการพัฒนาเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของบริษัท ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ได้แก่ ทัศนคติของพนักงาน งบประมาณ ค่าตอบแทนและบรรยากาศในที่ทำงาน ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นตัวแบบในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของบริษัทอื่นๆ ต่อไป
References
จิระพงค์ เรืองกุน. (2555). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้หลักสมรรถนะ: ประสบการณ์จาก องค์การชั้นนำ. วารสารวิทยาการจัดการ, 29(2), 111-127.
จิรศักดิ์ สุทธาดล. (2553). สมรรถนะของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยที่พึงประสงค์ตามทัศนะของ ผู้บริหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนรัตน์ ครุวรรณเจริญ, จักร ติงศภัทิย์, บุญมี กวินเสกสรร, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2555). การพัฒนา ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย. วารสารจันทรเกษมสาร, 18(1), 111-120.
บัณฑิต ปรีเปรม. (2551). ความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภัณฑิลา บุญปั้น. (2554). การศึกษาปัจจัยเอื้อต่อการทำงาน การรับรู้ภาระงาน ที่ส่งผลต่อความตั้งใจ ลาออกภายใต้บทบาทสื่อความผูกพันต่องานของข้าราชการระดับ 1-6 สำนักงานเลขาธิการ วุฒิสภา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์ และอวยพร ตัณมุฃยกุล. (2550). สมรรถนะของอาจารย์พยาบาลในวิทยาลัย พยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(1), 17-27.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2549). การพัฒนาโมเดลสมรรถนะเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์. วารสาร การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 13(1), 1-34.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2562, 4 กันยายน). รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2/2562 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2562. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s/oie/3037260
Boyatzis, R. E. (1982). The Competence Manager. New York: John Wiley & Sons. Chomphuka, M., NaRanong, A., & Lorsuwannarat, T. (2018). Impact of strategic knowledge management and technological development capabilities on organizational competency and performance: A case study of auto and automotive parts manufacturing industries in Thailand. NIDA Development Journal, 58(3), 246-276.
Creswell, J. W. (2014). Research design: Qualitative, quantitative, & mixed methods approaches (4th edition). Thousand Oaks, CA: Sage.
Dubois, D. D. (2004). Competency- based human resource management. Palo Alto, Calif: Davies-Black pub.
Gangani, N., McLean, G., & Braden, R. (2006). A Competency- based human resource dvelopment strategy. Performance Improvement Quarterly, 19(1),127-140.
Marshall, C., & Rossman, G. B. (2016). Designing qualitative research (6th edition). Los Angeles: Sage.
McClelland, D. C. (1973). Testing competence rather than for “intelligence”. American Psychologist, January: 1-14.
Thaithong, N., Praneetham, C., Noades, M., & Sitthijirapat, P. (2018). Competency development of the hotel staff in Koh Samui, Surat Thani province. Chophayom Journal, 29(3), 41-53.
Spencer, M., & Spencer, L. (1993). Competence at work: models for superior performance. New York: Wiley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.