การพัฒนาต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษามะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ประทับใจ อภิสิทธิ์สุขสันติ อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ต้นแบบตลาดดิจิทัล, เกษตรแบบแปลงใหญ่, มะม่วงน้ำดอกไม้, ตลาดดิจิทัล, ระบบสั่งจองสินค้า

บทคัดย่อ

          งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการสร้างต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ มะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการใช้งานต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตลาดดิจิทัลหรือระบบงานอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 407 คน ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรหรือผู้ดูแลการจัดจำหน่ายสินค้า ที่ต้องการใช้ต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยใช้วิธีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 คน 2) กลุ่มเกษตรอำเภอและนักวิชาการเกษตร โดยใช้วิธีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 2 คน และ 3) บุคคลทั่วไปที่เข้าชมต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีแบบสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรหรือผู้จัดจำหน่ายสินค้ากลุ่มเกษตรแปลงใหญ่มะม่วงน้ำดอกไม้สามารถใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีได้ ด้านความต้องการใช้เทคโนโลยีพบว่าต้องการระบบจองมะม่วง ช่องทางเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์มะม่วง  ระบบที่ต้องการต้องใช้งานได้ง่ายและช่วยบริหารจัดการการจองสินค้า 2) การพัฒนาต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย ระบบการจัดการสมาชิก ระบบการจัดการสินค้า ระบบบริหารการจัดส่งสินค้า การประเมินความพึงพอใจต่อผู้ขาย 3) ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อภาพรวมด้านการทำงานระบบต้นแบบตลาดดิจิทัลสำหรับสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษามะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (x̅= 4.62) และความพึงพอใจที่มีต่อภาพรวมของการแสดงผลข้อมูล อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (x̅= 4.51)

References

กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร. (2563). การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ในระบบสหกรณ์. สืบค้นจาก http://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf_4946281711.pdf.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิ นิ่มปรางค์ และ อนุวัต สงสม. (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการยอมรับเทคโนโลยีคุณภาพของเว็บไซต์ ความไว้วางใจ และความภักดีทางอิเล็กทรอนิกส์: การซื้อสินค้าจากร้านออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. Economics and Business Administration Journal Thaksin University, 11(1), 1–12.

ประสิทธิชัย นรากรณ์. (2563). ผลกระทบของความสามารถการตลาดดิจิทัลในฐานะตัวแปรส่งผ่านต่อประสิทธิภาพทางการตลาดของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 42(166), 44-66.

รัฐการ บัวศรี และ อิสริยณี ฤทธิมาศ. (2564). แนวทางส่งเสริมการตลาดออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1(3), 22-32.

วิทวัฒน์ พัฒนา. (2553). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). การส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่. สืบค้นจาก https://www.opsmoac.go.th/inspector-dwl-files-402891791956

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.

สวรรณ์ ถิระภัทรา. (2555). E-Marketing การตลาดอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: วิตตี้กรุ๊ป.

แอนนา พายุพัด ฐัศแก้ว ศรีสด และธัชกร วงษ์คำชัย. (2561). รูปแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ OTOP 3-5 ดาว. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, 12 (1), 81-91.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2556). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ e-Commerce. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Kendall, K. E., & Kendall, J. E. (2019). Systems Analysis and Design. Pearson.

Dennis, A., Wixom, B. H., & Roth, R. M. (2015). Systems Analysis and Design. John Wiley & Sons.

Whitten, J. L., Bentley, L. D., & Dittman, K. C. (2004).Systems Analysis and Design Methods. McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29