การสังเคราะห์และเปรียบเทียบการค้นคว้าแบบอิสระ ของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ผู้แต่ง

  • กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การค้นคว้าแบบอิสระ, การสังเคราะห์

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และเปรียบเทียบการค้นคว้าแบบอิสระของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยเป็นการศึกษาเฉพาะการค้นคว้าแบบอิสระของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีระหว่างปี พ.ศ. 2556-2557 จำนวน 157 เรื่องจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอีก 43 เรื่อง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลห้องสมุดในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ
            ผลการวิจัยพบว่า 1.ลักษณะของหัวข้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการตลาดมากที่สุด รองลงมาเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ 2. การสังเคราะห์กระบวนการวิจัยพบว่า การค้นคว้าแบบอิสระทั้งหมดเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนใหญ่ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลแบบปฐมภูมิ โดยเฉพาะลูกค้าและพนักงานในองค์กร มีการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศเท่านั้น และใช้ทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการตลาดส่วนใหญ่ใช้ตาราง ของ Krejcie and Morgan ในการกำหนดขนาดตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกมากที่สุด สถิติในการคำนวณโดยส่วนใหญ่ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test และ F-test

Author Biography

กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

สาขาบริหารธุรกิจ

References

กิติยานภาลัย ภู่ตระกูล. (2552). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบระยะเวลาในการศึกษาและคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของนิสิตครุศาสตร์ที่มีคุณลักษณะต่างกัน.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะวิทยาการจัดการ. (2556). หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต.สืบค้นจาก https://manage.dru.ac.Th/classicweb/doccurri/m2business56.pdf

จินตนา เหมทานนท์. (2546). การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าแบบอิสระของสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปีการศึกษา2539-2544. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จีราภรณ์ สุธัมมสภา และสุรีย์ เข็มทอง. (2556). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2552). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐาปนี เปี่ยมศิริ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ในการสื่อสารการตลาด: การวิเคราะห์อภิมานจากสารนิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธารินี พลเยี่ยม. (2547). การสังเคราะห์งานวิทยานิพนธ์ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2540-2545. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ป.

ศิริยุภา พูลสุวรรณ. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัย : หลักการและการประยุกต์ใช้.นครปฐม: มิสเตอร์ก๊อปปี้จำกัด.

สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

โสภนา สุดสมบูรณ์. (2550). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุชิต วัฒนาพร. (2547). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ปีการศึกษา 2539-2545 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุทุมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย : เชิงปริมาณ เน้นวิธีวิเคราะห์เมตต้า. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

เอ็มบีเอนิวส์ไทยแลนด์. (2554). รวมหลักสูตร MBAมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สืบค้นจากhttp://www.mbanewsthailand.com/2011/06/mba-cmu-2/

Yamane, T. (1967).Statistics, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22