ศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ในพื้นที่อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ เนียมกำเนิด นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวงฆ้อง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

DOI:

https://doi.org/10.60101/jimc2023.707

คำสำคัญ:

โรคเรื้อรัง, ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในพื้นที่อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง โดยคัดเลือกอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย เพราะเป็นพื้นที่ที่มีผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังจำนวนมาก การวิจัยนี้ได้สุ่มตัวอย่างจากประชากรที่เข้าเกณฑ์การศึกษา จำนวน 360 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติ Binary logistic analysis ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 54.1) และเพศชาย (ร้อยละ 45.8) มีอายุระหว่าง 60-69 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 51.3) อายุเฉลี่ยเท่ากับ 72 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 80.5) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด (ร้อยละ 70.8) และมีโรคเรื้อรังมากกว่า 1 ชนิด (ร้อยละ 55.5) ผลการวิเคราะห์ศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง พบว่า ข้อที่ผู้สูงอายุมีศักยภาพมากซึ่งมีร้อยละสูงสุด ได้แก่ ข้อการพบแพทย์เพื่อตรวจตามนัด (ร้อยละ 58.61) และการเข้าร่วมงานสังคม (ร้อยละ 58.61) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุกับภาวะการเป็นโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ พบว่า การกินอาหารส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์กับภาวะการเป็นโรคเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (OR = 2.19, 95% CI; 1.26 – 3.72) โดยผู้ที่มีภาวะเป็นโรคเรื้อรัง
โรคเดียวมีโอกาสกินอาหารส่งเสริมสุขภาพมากกว่าผู้ที่มีภาวะเป็นโรคเรื้อรังหลายโรค 2.19 เท่า การเคลื่อนไหวออกแรงมีความสัมพันธ์กับภาวการณ์เป็นโรคเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (OR = 1.27, 95% CI; 1.14 – 1.42) โดยผู้ที่มีภาวะเป็นโรคเรื้อรังเป็นบางครั้งมีโอกาสเคลื่อนไหวออกแรงมากกว่าผู้ที่มีภาวะเป็นโรคเรื้อรังเป็นประจำ 1.27 เท่า และการจัดการความเครียดมีความสัมพันธ์กับภาวะการเป็นโรคเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (OR = 1.12, 95% CI; 1.03 – 1.20) โดยผู้ที่มีภาวะเป็นโรคเรื้อรังโรคเดียวมีการจัดการความเครียดมากกว่าผู้ที่มีภาวะเป็นโรคเรื้อรังหลายโรค 1.11 เท่า ทั้งนี้ จึงควรมีการให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น หอกระจายข่าว แผ่นพับ อาสาสมัครสาธารณสุข

 

 

Author Biography

ประสิทธิ์ เนียมกำเนิด, นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวงฆ้อง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

 

 

References

จอมชัย คงมณีกาญจน์, ปิยะ ศิริลักษณ์, และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2563). การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 12(1), 28-38.

ดาลิมา สำแดงสาร, ทิพมาส ชิณวงศ์, และเพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(3), 51-66.

ทวีศักดิ์ หล้าภูเขียว. (2547) การได้รับการดูแลจากครอบครัวของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองหิน กิ่งอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ภัทรรดา อุ่นกมล. (2562). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรับรู้คุณค่าของตนเอง และความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(1), 125-136.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2566, 25 กรกฎาคม). สถิติผู้สูงอายุไทยปี 65 จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มต่อเนื่องแต่อัตราการเกิดต่ำ. https://marketeeronline.co/archives/272771.

เรณุวัฒน์ โคตรพัฒน์, รังสรรค์ สิงหเลิศ, และณรงค์ฤทธิ์ โสภา. (2564). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชนบท จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 166-174.

วุฒิพงษ์ บัวสาย. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลหนองย่างชิ้น อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 5(1), 19-28.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561, 16 มีนาคม). จากตลาดผู้สูงอายุขุมทอง SME ไทย. https://www.kasikornbank.com/th/business/hsme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/AgingMarket_SME-Treasure_2018.pdf

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565, 26 มิถุนายน). Research Brief การเข้าถึงระบบบริการทางสังคมของประชากรในครัวเรือนก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุ ที่มีรูปแบบการอยู่อาศัยต่างกันเพื่อนำไปสู่แนวทางการสนับสนุนการบริการที่เหมาะสม. https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/07/Research-brief-EAP-updated_compressed.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564 The 2021 Survey of The Older Persons in Thailand. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2565). รายงานประจำปี 2565. สำนักงานสาธารณสุขสุโขทัย.

อรุณี อ่อนสวัสดิ์. ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภาษาอังกฤษ

United Nations. (2017). World Population Prospects: The 2017 Revision. United Nations Press.

บทความ 04

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023

How to Cite

เนียมกำเนิด ป. . (2023). ศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ในพื้นที่อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 2(1), 75–89. https://doi.org/10.60101/jimc2023.707