การสร้างคุณค่าร่วมด้วย BCG Economy Model ของรัฐบาลไทย
DOI:
https://doi.org/10.60101/jimc2023.706คำสำคัญ:
การสร้างคุณค่าร่วม, ความรับผิดชอบต่อสังคม, , เศรษฐกิจชีวภาพ, เศรษฐกิจหมุนเวียน, เศรษฐกิจสีเขียวบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกสารทางวิชาการและทบทวนวรรณกรรมเพื่อรวบรวมเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) กับแนวทางการประยุกต์ใช้นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ของรัฐบาลที่ได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเน้นย้ำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและถ่ายทอดข้อมูลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนตัวอย่างที่สามารถนำแนวทางข้างต้นไปประยุกต์ใช้ได้แบบครบวงจร จากการศึกษา พบว่า แนวคิดการสร้างคุณค่าร่วมมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมซึ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมทั้งกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่าย อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามแนวคิด CSV และ BCG ที่เป็นรูปธรรมในประเทศไทยให้ได้ผลสัมฤทธิ์ในระยะยาวนั้น อาจต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มคนฐานรากที่เป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศ เติมเต็มความต้องการขั้นพื้นฐาน และกระจายอำนาจให้มีการจัดการระบบในพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อท้องถิ่นนั้น ๆ อันจะนำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศได้อย่างแท้จริง
References
ภาษาไทย
กรุงเทพธุรกิจ. (2565, 23 กันยายน). สภาพัฒน์ชูแผนฯ 13 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ดันรายได้เฉลี่ยคนไทย 300,000 บาท/ปี. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1028472
ณัฐวิภา สินสุวรรณ. (2565). หลักการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ. [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ทรูปลูกปัญญา. (2564, 6 สิงหาคม). ระบบเศรษฐกิจของไทย. https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/1336
ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ. (2555). CREATING SHARED VALUE ก้าวใหม่ในการดําเนินธุรกิจที่ยั่งยืนและสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มรวมกันให้กับสังคม. วารสารวิชาชีพบัญชี, 8(21), 96-103. http://www.jap.tbs.tu.ac.th/files/Article/Jap21/Full/Jap21Theerachai.pdf
นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2560). ยกระดับ CSR สู่ CSV: การสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคม. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 97-106.
เบญจมาส เป็งเรือน. (2565, 28 กันยายน). ลงมือสู้โกง. https://www.naewna.com/anticorruption/columnist/52913
ปธาน สุวรรณมงคล. (ม.ป.ป.). ทุนนิยม. สืบค้นเมื่อ 2566, 19 มีนาคม, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ทุนนิยม
รพีพรรณ วงศ์ประเสริฐ. (2556). การสร้างคุณค่าร่วม แนวปฏิบัติที่ดีสู่สังคม. วารสารนักบริหาร, 33(3), 75-81.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563, 11 ธันวาคม). โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG. https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-by-nstda/
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2565, 23 มิถุนายน). อนุรักษ์ ‘พันธุ์ฟักทองไข่เน่า’ พืชอัตลักษณ์เมืองน่าน.https://www.nstda.or.th/home/news_post/bcg-delight-fak-thong-kai-nao/
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี. สืบค้นเมื่อ 2566, 19 มีนาคม, จาก https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2564, 17 มกราคม). นายกฯ ดันโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทย เพิ่ม GDP อีก 1 ล้านล้านบาท ใน 6 ปี. https://www.thaigov.go.th/news/contents/ministry_details/38369
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2566, 6 มีนาคม). โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดีภาคอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกชีวภาพไทยเป็นอันดับ 2 ของโลก. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/65767
เสาวภา มีถาวรกุล. (2554). แนวความคิดการตลาดแบบองครวม. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 9(2), 10-15.
Marketthink. (2564, 25 มีนาคม). “เซ็นทรัล ทำ” โครงการ CSV ที่สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 1,200 ล้านบาท และพัฒนาคุณภาพชีวิต 500,000 คน. https://www.marketthink.co/14412
ภาษาอังกฤษ
Porter, M. E. & Kramer, M. R. (2011). Creating Shared Value. Harvard Business Review, 89, 62-77