กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดด้วยความเชื่อมูเตลูในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ศุภจิรา ศรีมีธรรม นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • รัตนวดี เศรษฐจิตร อาจารย์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.60101/jimc2023.705

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสาร, การตลาด, มูเตลู, ความเชื่อ, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการเกี่ยวกับสังคมไทยและความเชื่อในยุคดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยรวบรวมข้อมูลจากแนวคิดการตลาด การสื่อสารการตลาด เทคโนโลยี และการเติบโตของธุรกิจที่เข้าสู่ยุคการตลาดดิจิทัล ผลการศึกษา พบว่า การตลาดมีการปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริโภค จากส่วนประสมทางการตลาดที่ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด การตลาดแบบ 4E Marketing และการตลาดแบบ Sensory Marketing ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าและบริการเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ในยุคดิจิทัล ปัจจุบันธุรกิจใช้การสื่อสารการตลาดผสมผสานกับความเชื่อและความศรัทธาจนเกิดเป็นแนวทางการตลาดแบบที่เรียกว่า “การสื่อสารการตลาดมูเตลู” 
การนำกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดมาประยุกต์ใช้กับสินค้าและบริการสะท้อนถึงวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมูเตลูที่เชื่อมโยงกับธุรกิจผ่านวิธีการสื่อสารต่าง ๆ เช่น การใช้ผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิด บุคคลที่มีชื่อเสียง และนักแสดงที่มีความเชื่อเกี่ยวกับมูเตลูแนะนำเครื่องรางที่ตนเองครอบครองเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า เช่น เบอร์มงคล วอลล์เปเปอร์โทรศัพท์มือถือ สร้อยข้อมือ เสื้อสีมงคล ตลอดจนการดูดวงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้น การสื่อสารการตลาดแบบมูเตลูจึงเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจในยุคดิจิทัลที่แสดงถึงการปรับตัวของธุรกิจให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและ
นำมาซึ่งการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ

 

 

Author Biographies

ศุภจิรา ศรีมีธรรม, นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

รัตนวดี เศรษฐจิตร, อาจารย์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

บทความ 02

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2023

How to Cite

ศรีมีธรรม ศ. ., & เศรษฐจิตร ร. . (2023). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดด้วยความเชื่อมูเตลูในยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 2(1), 41–59. https://doi.org/10.60101/jimc2023.705